สภาพและแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

dc.contributor.authorกิตติศักดิ์ แสนอุบล
dc.date.accessioned2024-11-26T02:52:09Z
dc.date.available2024-11-26T02:52:09Z
dc.date.issued2021
dc.descriptionThe purposes of this research were to study 1) the current and desirable states of management for child development center of local government in Samoeng District, Chiang Mai Province and 2) the guidelines for management for child development center of local government in Samoeng District, Chiang Mai Province. The research process was conducted into two phases. Phase one; the study of the current and desirable states of management for child development center of local government used the target group of 70 people consisted of the administrators, teachers and related personnel. The research instrument was a 5-level rating scale. The data was analyzed for descriptive statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation and priority need index (PNI Modified). Phase two; The study of the guidelines for management were collected data by interviewing, then performed content analysis. Research findings were as follows: 1) The current of management for child development center overall was found in a high level while the desirable states of management overall were found in the highest level. For PNI modified of needs assessment the Standards of Cooperation and Support from Every Sector were found in the highest level. 2) The guidelines management for child development center of local government in Samoeng District, Chiang Mai Province were as follow. 1) Guidelines for Promotion of Child Development Network: There should construct a cooperative connection within the community and development their management best practices. 2) Guidelines for Buildings, Environment and Safety: There should be an improvement to ensure that the facilities are in a ready-to-use state also determining the measures for preventing communicable diseases and safety awareness. 3) Guidelines of Personnel: There should plan an adequate and proper teacher's ratio and also promote a consistent self-development career training. 4) Guidelines for Cooperation and Support from Every Sector: There should develop in communications and promotion in outside organization networking relationship in order to bring in supports and resources. 5) Guidelines for Academic and Curriculum: There should be an improvement in child curriculum which provide a variety of learning activities. 6) Guidelines of Management: There should be a systematic working procedure and also an appropriate budget allocation.
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ 2) แนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากร สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น 70 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ วิธีการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็น (PNI Modifed) ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยวิธีการสัมภาษณ์โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา หรือด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา หรือด้านการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ มาตรฐานด้านการส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย 2) แนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้บริหาร ครู และบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรดำเนินการ ดังนี้ 1) มาตรฐานด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ควรสร้างเครือข่ายทางการศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อร่วมพัฒนาการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) มาตรฐานด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ควรปรับปรุงอาคารสถานที่ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมถึงมีมาตรการป้องกันโรคติดต่อ และมาตรการป้องกันอันตราย 3) มาตรฐานด้านบุคลากร ควรวางแผนอัตรากำลังให้เพียงพอ และส่งเสริมบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ 4) มาตรฐานด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุน ควรพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ สร้างกลไกความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมทรัพยากรสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5) มาตรฐานด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ควรพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ออกแบบแผนจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้มีความหลากหลาย และ 6) มาตรฐานด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.citationกิตติศักดิ์ แสนอุบล. (2564). สภาพและแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/1020
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectการบริหารจัดการ
dc.subjectศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
dc.subjectManagement
dc.subjectChild Development Center
dc.subjectLocal Government
dc.titleสภาพและแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
dc.title.alternativeState and Management Guidelines for Child Development Center of the Local Government in Samoeng District, Chiang Mai Province
dc.typeThesis
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
Kittisak Saenubon.pdf
Size:
3.03 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: