ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางด้านทันตสุขภาพต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

Loading...
Thumbnail Image
Date
2020
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความฉลาดทางด้านทันตสุขภาพ พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง 209 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 119 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จำนวน 90 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ลักษณะประชากรความฉลาดทางด้านทันตสุขภาพ และพฤติกรรมทันตสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.7 อายุต่ำกว่า 13 ปี ร้อยละ 55.0 เรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 56.9 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 96.7 ผู้ดูแล คือ บิดา มารดา ร้อยละ 66.5 มีประวัติเคยมารับบริการทางทันตกรรม ร้อยละ 90 ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยร้อยละ 77.8 ความฉลาดทางด้านทันตสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และความฉลาดทางด้านทันตสุขภาพ
Description
This descriptive research aimed at studying dental health literacy, dental health behaviors and factors related to dental health behaviors of Prathomsuksa 6 and Matthayomsuksa 3 students in the educational opportunity expansion schools in Chiangkham district, Payao province. The research sample of total 209 people consists of 119 Prathomsuksa 6 students and 90 Matthayomsuksa 3 students. The data were collected using questionnaire consisted of 3 parts; demographic, dental health literacy and dental health behavior. The data were analyzed by using descriptive statistics; percentage, mean, standard deviation, highest and lowest values and inferential statistics, Chi-square test and Pearson’s product-moment correlation. The results showed that most of the samples were male (51.7%), lower than 13 years of age (55%), study in Prathomsuksa 6 (56.9%),no congenital disease (96.7%), take care by father and mother (66.5%), have dental health service history (90%)and no illness history (77.8%). Their dental health literacy and dental health behaviors were in middle level. Factors associated with dental health behavior were age, educational level and dental health literacy. gence related to dental health behavior with a statistical significance level of 0.05
Keywords
พฤติกรรมทันตสุขภาพ, ลักษณะประชากร, ความฉลาดทางด้านทันตสุขภาพ, โรงเรียนขยายโอกาส, Dental health behavior, Personal factors, Dental literacy, Educational opportunity expansion schools
Citation