การศึกษาทางชีววิทยาและการอนุรักษ์นกยูงไทยในพื้นที่ป่าอนุรักษ์มหาวิทยาลัยพะเยา

dc.contributor.authorเอกภาพ บัวประทุม
dc.date.accessioned2024-12-09T09:02:19Z
dc.date.available2024-12-09T09:02:19Z
dc.date.issued2020
dc.descriptionBiology and conservation of green peafowl were studied in protected forest of University of Phayao (PFUP) during November 2019 to February 2020. The aim of this study is to (I) observe biology and behavior of green peafowl (II) compare forest areas between conservation forest and protected forest of University of Phayao and (III) determine carrying capacity of protected forest. It is shown that density and distribution of green peafowl population can found in Dry dipterocarp forest, Community Forest and Forest- Agricultural boundary. It is rear to observe green peafowl during 10.00 AM.-14.00 PM. But the high number of green peafowl can be observed around 15.00-17.00 PM during feeding time, and we can collect common behavior (walk, fly and fight) and social voice arum (Wiang Lor Wildlife Sanctuary (WLO)-69 Garth). Similarity of carrying capacity has found in PFUP, WLO, Doi Phu Nang National Park (DPN), Tapphaya Lor Non-hunting wildlife Area (TPL) and Rong Kham Lung Forest Park (RKL). Water and food source, forest area and breeding ground are important for survival of green peafowl. Area of PFUP is surround with (I) Dry dipterocarp forest in the North (19˚01.773'N, 99˚52.766'E) (II) Mixed deciduous forest in the West (19˚01.606'N, 99˚52.995'E) (III) Forest-Agricultural boundary in the South (19˚01.834'N ,99˚52.755'E) and (IV) 4. Reservoir of Royal Initiative Project in the East (19°1'46.38"N,99°52'45.96"E). Moreover, we have study effect of environmental factor to life and survive of green peafowl, action plan for conservation, ecotourism, natural resource management and integrated knowledge for community empowerment.
dc.description.abstractการศึกษาทางชีววิทยา และการอนุรักษ์นกยูงไทยในพื้นที่ป่าอนุรักษ์มหาวิทยาลัยพะเยา ดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทางชีววิทยา และพฤติกรรมบางประการของนกยูงไทย รวมถึงเปรียบเทียบพื้นที่ป่าเขตอนุรักษ์ในจังหวัดพะเยากับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของมหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมทั้งประเมินความสามารถของพื้นที่ป่าอนุรักษ์มหาวิทยาลัย ผลการศึกษาพบว่า ความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรนกยูงไทยพบบนพื้นที่ป่าเต็งรัง ป่าชุมชน และพื้นที่เกษตรกรรม จากการสังเกตพฤติกรรมในธรรมชาติบางประการของนกยูง ณ ข่วงนกยูง 69 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ พบว่า ในช่วงเวลา 10.00 – 14.00 น. จะพบนกยูงจำนวนที่น้อยกว่าในช่วงเวลา 15.00 – 17.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่นกยูงจะการออกหากิน และแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ (เดิน บิน ต่อสู้) และการแสดงออกทางสังคมด้วยเสียงเตือนภัย ในการเปรียบเทียบพื้นที่ป่าอนุรักษ์ฯ 4 พื้นที่ (อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง (DPN) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ (WLO) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทับพญาลอ (TPL) และวนอุทยานร่องคำหลวง (RKL)) กับพื้นที่ป่าอนุรักษ์มหาวิทยาลัยพะเยานั้น แหล่งอาหารและน้ำพื้นที่ป่า และลานผสมพันธุ์ มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของนกยูง โดยในพื้นที่ป่าอนุรักษ์มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ได้ทำการเปรียบเทียบสามารถแยกออกเป็น 4 พื้นที่ คือ 1) ป่าเต็งรัง ทางทิศเหนือพิกัด 19˚01.773'N และ 99˚52.766'E 2) ป่าเบญจพรรณ ทางทิศตะวันออก พิกัด 19˚01.606'N และ 99˚52.995'E 3) พื้นที่ชายป่าติดแนวพื้นที่เกษตรกรรม ทางทิศใต้ พิกัด 19˚01.834'N และ 99˚52.755'E 4. อ่างเก็บน้ำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ทางทิศตะวันออกพิกัด 19°1'46.38"N และ 99°52'45.96"E นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาผลกระทบของปัจจัยที่จะมีผลต่อการดำรงชีวิต และการอนุรักษ์นกยูงไทย โดยเสนอในรูปแผนการแก้ไขปัญหาเชิงการอนุรักษ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิถี การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการบูรณาการความรู้สู่ชุมชน
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.citationเอกภาพ บัวประทุม. (2563). การศึกษาทางชีววิทยาและการอนุรักษ์นกยูงไทยในพื้นที่ป่าอนุรักษ์มหาวิทยาลัยพะเยา. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/1101
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectชีวภูมิศาสตร์
dc.subjectพฤติกรรมสัตว์
dc.subjectเทคนิคการสุ่มตัวอย่างตามแนวขวาง
dc.subjectBiogeography
dc.subjectAnimal
dc.subjectBehavior line transect
dc.titleการศึกษาทางชีววิทยาและการอนุรักษ์นกยูงไทยในพื้นที่ป่าอนุรักษ์มหาวิทยาลัยพะเยา
dc.title.alternativeBiological Study and Green Peafowl Conservation in Forest Conservation Area, University of Phayao
dc.typeOther
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
ติดต่อ งานส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศดิจิทัล.pdf
Size:
46.82 KB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: