ประเภทคำทางวัฒนธรรมและกลวิธีการแปลในบทคัดย่อการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัยครั้งที่ 9-11 (พ.ศ. 2563-2565)

Loading...
Thumbnail Image
Date
2023
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง ประเภทคำทางวัฒนธรรมและกลวิธีการแปลในบทคัดย่อการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 9-11 (พ.ศ. 2563-2565) เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประเภทของคำทางวัฒนธรรมและกลวิธีที่ใช้ในการแปล ในบทคัดย่อการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัยครั้งที่ 9-11 (พ.ศ. 2563-2565) แหล่งข้อมูลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ได้แก่ บทคัดย่อการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัยครั้งที่ 9-11 (พ.ศ. 2563-2565) ที่คัดจากกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่นำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) จำนวน 24 ชิ้น ซึ่งมีเนื้อหางานวิจัยเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของไทยเท่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ได้แก่ แบบบันทึกประเภทคำทางวัฒนธรรมและกลวิธีการแปล (Cultural Words and Translation Strategies Recording Form) และแบบบันทึกข้อมูลบทคัดย่อ (Abstract Recording Form) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ผู้วิจัยได้คำนวณความถี่ของประเภทของคำทางวัฒนธรรมและกลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมในบทคัดย่อเป็นร้อยละ ผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง พบว่า คำทางวัฒนธรรมในบทคัดย่อพะเยาวิจัยมีทั้งสิ้น 4 ประเภท ตามกรอบประเภทคำทางวัฒนธรรมของ Newmark (1988) ได้แก่ 1) คำทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับองค์กร จารีต แบบแผน กิจกรรม กระบวนการ และความคิด พบ 47 ครั้ง (ร้อยละ 40.52) 2) คำทางวัฒนธรรมทางสังคม 38 ครั้ง (ร้อยละ 32.76) 3) คำทางวัฒนธรรมทางวัตถุ 30 ครั้ง (ร้อยละ 25.86) และ 4) คำวัฒนธรรมทางนิเวศ พบ 1 ครั้ง (ร้อยละ 0.86) ส่วนกลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมที่ใช้ในการแปลบทคัดย่อมี 9 วิธี ได้แก่ 1) การแปลโดยการใช้ 2 กลวิธี พบ 53 ครั้ง (ร้อยละ 45.69 2) การแปลโดยใช้คำยืม พบ 24 ครั้ง (ร้อยละ 20.69) 3) การแปลตรงตัว พบ 12 ครั้ง (ร้อยละ 10.34) 4) การแปลโดยใช้คำที่มีความหมายเป็นกลาง พบ 9 ครั้ง (ร้อยละ 7.76) 5) การแปลโดยการใช้คำบัญญัติ พบ 6 ครั้ง (ร้อยละ 5.17) 6) การแปลโดยการอธิบายความ พบ 5 ครั้ง (ร้อยละ 4.31) 7) การแปลโดยการแทนที่ด้วยสิ่งที่มีในวัฒนธรรมภาษาแปล พบ 5 ครั้ง (ร้อยละ 4.31) 8) การแปลโดยการสร้างคำใหม่ขึ้นมา พบ 1 ครั้ง (ร้อยละ 0.86) และ 9) การแปลโดยการละ พบ 1 ครั้ง (ร้อยละ 0.86) ประเด็นทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ผู้แปลต้องตระหนักและเลือกใช้กลวิธีการแปลที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้การถ่ายทอดความหมายไปยังผู้รับสารแปลนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องเช่นเดียวกับผู้สอนและผู้เรียนการแปล ตลอดจนบุคคลทั่วไปในยุคนี้ต้องรับสารข้ามวัฒนธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
Description
The independent study entitled “Types of Cultural words and Translation Strategies in Translating Cultural Terms in Abstracts Presented in Phayao Research Conference 9-11 (2020-2022)" is a mixed method research consisting of both qualitative and quantitative data. It was aimed to study types of cultural words and translation strategies used in translating cultural terms in Phayao Research Conference 9-11 (2020-2022). The main sources of the study were 24 abstracts chosen from Phayao Research Conference 9- 11 (2020-2022) and related to Thai culture only. The research tools were cultural words and translation strategies recording form and an abstract recording form. The frequencies of each type of cultural words and translation strategy found in the abstracts were calculated and presented in percentage. According to Newmark (1988), the qualitative research results showed that there were 4 cultural word types found in the abstracts namely 1) social organization customs, activities, procedures, and concepts 2) social culture 3) material culture and 4) ecology. The types of cultural words found in the abstract were 47 times in social organization (40.52 %), 38 times in social culture (32.76 %), 30 times in material culture (25.86 %), and 1 time in ecology (0.86 %). Regarding quantitative data found in translation strategies used in the abstracts, there were 9 translation strategies used consisting of 53 times of couplet (45.69%), 24 times of transference (20.69%), 12 times of literal translation (10.34%), 9 times of neutralization (7.76%), 6 times of accepted standard translation (5.17%), 5 times of paraphrasing (4.31%), 5 times of cultural equivalent (4.31%), 1 time of label translation (0.86%), and 1 time of deletion (0.86%). A translator has to be aware of cultural sensitivity and choose the suitable translation strategies when it comes to translating the meaning of a cultural word in order to deliver the correct meanings to a receptor in a target language. However, this awareness has to be applied to translation teachers and learners, too. Lastly, in the era of borderless cross-cultural communication, it is also necessary for everyone – global citizen – to be cautious about this problem.
Keywords
คำทางวัฒนธรรม, ประเภทคำทางวัฒนธรรม, กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรม, บทคัดย่อ, การประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย, Cultural Terms, Cultural Types, Translation Strategies, Abstracts, Phayao Research Conference
Citation