ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลื่อนหลุดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันบน ฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 ภายใต้รูปแบบการให้บริการในคลินิกทันตกรรมโรงพยาบาลพะเยา

dc.contributor.authorดวงพร จิรอภิวัฒนา
dc.date.accessioned2023-12-19T09:08:52Z
dc.date.available2023-12-19T09:08:52Z
dc.date.issued2020
dc.descriptionDental sealant is one of the most effective for reducing tooth decay as long as they remain bonded to teeth. The objective of this service based prospective cohort study is to define factors affect dental sealant retention on the first molars in dental office which studied in 272 the first grade students in Muang Phayao district elementary schools who admitted in YIM SOD SAI Project 2019. The data was collected while the treatments were done. 6 months later, the dental sealant retention were checked and the participant students were interviewed about the frequency of either hard or sticky kind of food consumption. The data was analyzed by analytic statistics to compare amount of sealant dislodgement teeth per amount of sealant teeth per person between factors and analyze retention loss risk by Poisson regression. The dental sealant retention loss rate is 7.9% and factors affect the dental sealant retention loss in this study are the frequency of either hard or sticky kind of food consumption (IRRAdj = 2.87, CI95% = 1.52-5.42), the dental unit condition (IRRAdj = 2.40, CI95% = 1.30-4.43) and the treatment time consumption (IRRAdj = 0.96, CI95% = 0.94-0.99)
dc.description.abstractการเคลือบหลุมร่องฟันจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุ เมื่อมีวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันยึดติดอย่างสมบูรณ์บนหลุมร่องฟัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการหลุดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันภายใต้การให้บริการในรูปแบบคลินิกทันตกรรม โดยศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบไปข้างหน้า (service based prospective cohort study) กลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เข้าร่วมโครงการยิ้มสดใสเด็กไทยฟันดี ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 272 คน โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ในขณะให้บริการเคลือบหลุมร่องฟัน จากนั้นสำรวจการคงอยู่ของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน และสอบถามความถี่ในการบริโภคอาหารแข็งและเหนียวหลังจากเคลือบหลุมร่องฟัน 6 เดือน วิเคราะห์อธิบายข้อมูลด้วยสถิติเชิงวิเคราะห์ เปรียบเทียบความแตกต่างของจำนวนซี่ที่มีการหลุดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันต่อจำนวนซี่ฟันที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันต่อเด็ก 1 คน ในกลุ่มตัวแปรที่แตกต่างกัน และวิเคราะห์ลักษณะที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการหลุดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันด้วย Poisson regression พบว่า วัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน มีการหลุดร้อยละ 7.9 โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับการหลุดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน คือ ความถี่ในการบริโภคอาหารที่มีลักษณะแข็งและเหนียวของนักเรียน (IRRAdj = 2.87, CI95% = 1.52-5.42) สภาพของยูนิตทันตกรรมที่ใช้งาน (IRRAdj = 2.40, CI95% = 1.30-4.43) และระยะเวลาที่ใช้ในการเคลือบหลุมร่องฟัน (IRRAdj = 0.96, CI95% = 0.94-0.99)
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/191
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectการหลุด
dc.subjectวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน
dc.subjectคลินิกทันตกรรม
dc.subjectอาหารลักษณะแข็งและเหนียว
dc.subjectRetention loss
dc.subjectDental sealant
dc.subjectDental office
dc.subjectHard and sticky food
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลื่อนหลุดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันบน ฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 ภายใต้รูปแบบการให้บริการในคลินิกทันตกรรมโรงพยาบาลพะเยา
dc.title.alternativeFactors Affecting Retention Loss of The First Molar Sealant: Case Study of Dental Clinic, Phayao Hospital
dc.typeThesis
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
Duangporn Jiraphiwattana.pdf
Size:
1.03 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: