สมการทำนายความทนทานของระบบหัวใจและการหายใจโดยการทดสอบการยกขาสูงสลับกัน 2 นาทีในผู้สูงอายุ

No Thumbnail Available
Date
2017
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
ขบวนการความแก่ชรา ส่งผลให้เกิดปัญหาความเสื่อมถอยของร่างกาย การทดสอบยกขาสูงสลับกัน 2 นาที (2-minute step test; 2MST) เป็นการทดสอบเพื่อประเมินความทนทานของระบบหายใจและหัวใจในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานสมการในการทำนายความทนทานของระบบหายใจและหัวใจในผู้สูงอายุไทยด้วยการทดสอบ 2MST การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมการการทดสอบยกขาสูงสลับกัน 2 นาทีในผู้สูงอายุ โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครผู้สูงอายุ จำนวน 172 คน (เพศชาย 78 คน เพศหญิง 94 คน) อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาสาสมัครทั้งหมดได้รับการสัมภาษณ์ประวัติสุขภาพเบื้องต้นด้วยแบบสอบถาม และประเมินความทนทานของระบบหายใจและหัวใจด้วยการทดสอบ 2MST ทำการประเมิน 2 ครั้ง เลือกค่าที่ดีที่สุด ผลการศึกษาพบว่า เพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (79.26±14.92 และ 75.18±14.58 ครั้ง ตามลำดับ; p=0.072) เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า จำนวนการยกขาสูงสลับกันภายใน 2 นาที มีความสัมพันธ์กับอายุ (r=-0.360; p< 0.001) มีความสัมพันธ์กับส่วนสูง (r=0.162; p= 0.055) มีความสัมพันธ์กับความดันสูงสุดขณะหัวใจบีบตัว (r=0.182; p=0.017) และมีความสัมพันธ์กับอัตราการเต้นของหัวใจ (r=0.180; p=0.018) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression) ด้วยวิธี stepwise เมื่อควบคุมตัวแปรอื่นๆ ให้คงที่ พบว่า อายุ ความดันสูงสุดขณะหัวใจบีบตัว มีความสัมพันธ์กับจำนวนการยกขาสูงภายใน 2 นาที ใช้พยากรณ์ได้โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ร้อยละ 16.8 และได้สมการ 2MST = 107.035 - (0.829 x อายุ(ปี)) + [0.186 x ความดันสูงสุดขณะหัวใจบีบตัว(มิลลิเมตรปรอท)) สมการที่ได้อาจช่วยบอกเปอร์เซ็นการทำนายของ 2MST ในผู้สูงอายุที่มาใช้ทดสอบครั้งแรก และอาจเป็นประโยชน์ต่อบุคคลกรหรือนักกายภาพบำบัด ในการตรวจประเมินความทนทานของระบบหัวใจและหายใจ เพื่อนำไปป้องกันและส่งเสริมสมรรถภาพของระบบหายใจและหายใจในผู้สูงอายุให้เพิ่มขึ้น
Description
Aging process, it results in a decline in functioning capacity. 2 minute step test (2MST) can be assessed cardiorespiratory endurance in the aging. However, these predictive equation of 2 MST in elderly have not been reported. Therefore, the aim of this study was to determine the 2MST, establish prediction equations for repetitions of 2MST in the elderly. A total of 17:2 elderly subjects (94 women, 78 men) aged older than 60 years were participated in this study. All participants were asked medical history by using questionnaire. Cardiorespiratory endurance was assessed by 2MST, repetitions of 2MST was defined as the greatest repetition achieved from the two tests. The result shows that repetitions of 2MST are not significantly different in men and women (79.26±14.92 and 75.18±14.58 repetition; p=0.072). 2MST was positively correlated with age (r=-0.360, p< 0.001), height (r=0.162, p= 0.035) systolic blood pressure (SBP) (r=0.182, p=0.017) and heart rate (r=0.180, p=0.018). Multiple regression analysis was demonstrated that the 16.8% of variation of 2MST (adjust R2= 0.168; P< 0.001) could be explicable from the variation of age and systolic blood pressure. Predictive equation of 2MST show that 107.035- [0.829xage (years)] + [0.186 x systolic blood pressure (mmHg). This reference equations may be used to compute the percent predicted 2MST for elderly performing the test for the first time and equation will be beneficial for primary health care or physical therapist interventions and facilitating the screening of the elderly.
Keywords
ผู้สูงอายุ, ความทนทานของระบบหัวใจและหายใจ, การยกธาสูงสลับกัน 2 นาที, ความสามารถในการทำหน้าที่, Elderly, cardiopulmonary endurance, 2-Minute step test, functional capacity
Citation
กันยารัตน์ สุวรรณ์ และสุดารัตน์ วงค์จันทร์. (2560). สมการทำนายความทนทานของระบบหัวใจและการหายใจโดยการทดสอบการยกขาสูงสลับกัน 2 นาทีในผู้สูงอายุ. [ปริญญานิพนธ์บัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).