การวิเคราะห์ชุดข้อมูลการปลดปล่อยมวลโคโรนาในอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ ตั้งแต่ปี 1996 ถึง 2019

No Thumbnail Available
Date
2020
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การปลดปล่อยมวลโคโรนาในอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ที่เกิดจากบริเวณสนามปิดบนดวงอาทิตย์เป็นปรากฎการณ์ที่มีพลังมากที่สุดในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ และในการปลดปล่อยมวลโคโรนานั้นจะมีค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องด้วยหลายค่า เช่น ดัชนีเวลาในการรบกวนของพายุแม่เหล็กโลก (Dst) และสนามแม่เหล็กภายในเฉลี่ย (B) เป็นต้น ซึ่งในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การปลดปล่อยมวลโคโรนาที่ใกล้โลก โดยในการวิเคราะห์จะใช้ข้อมูลจากเหตุการณ์การปลดปล่อยมวลโคโรนาที่ใกล้โลกตั้งแต่ มกราคม 1996 ถึง สิงหาคม 2019 โดยจะทำการสร้างแผนภาพการกระจายและ สร้างฮิสโตแกรมของพารามิเตอร์แต่ละตัวขึ้นมาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลได้ว่าจำนวนของการเกิดพายุแม่เหล็กนั้นจะมีความสัมพันธ์กับจำนวนจุดดับบนดวงอาทิตย์ ยิ่งจำนวนจุดดับมากก็จะยิ่งมีแนวโน้มในการเกิดพายุแม่เหล็กมาก
Description
Interplanetary Coronal Mass Ejections (ICMEs) originating from closed field regions on the Sun are the most energetic phenomenon in the Solar atmosphere. And the ICMEs have any parameter to related. The main objects of this study are to analyze parameter data related to near-Earth Interplanetary Coronal Mass Ejection events. We analyze data by using Near-Earth Interplanetary Coronal Mass Ejections Since January 1996 to August 2019 and using scatter plots and histograms to analyze. From this study we have the results, that is the number of magnetic storms, and the number of sunspots has a correlation. The higher the number of sunspots, the more likely it is to cause higher the number of magnetic storms too.
Keywords
พารามิเตอร์การปลดปล่อยมวลโคโรนา, การปลดปล่อยมวลโคโรนา, การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ, Interplanetary Coronal Mass Ejection parameter, Interplanetary Coronal Mass Ejection, Statistical Analysis
Citation
กุลนาถ จิตโกศล. (2563). การวิเคราะห์ชุดข้อมูลการปลดปล่อยมวลโคโรนาในอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ ตั้งแต่ปี 1996 ถึง 2019. [ปริญญานิพนธ์บัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.