ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล กับการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย

Loading...
Thumbnail Image
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลกับการบริหารสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย จังหวัดเชียงราย 8 โรงเรียนจำนวนทั้งสิ้น 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย รวมเฉลี่ยและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษา รวมเฉลี่ยและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลกับการบริหารสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลกับการบริหารสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับปานกลาง (r = 0.639**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description
The purpose of this research is to study the leadership in the digital age of the school administrators, to study the school administration and to analyze the relationship between the Leadership in Digital age and the School administration of the School Administrators in SutthinThai Consortium under the Secondary Educational Area Office Chiang Rai. The samples in the research included school administrators and teachers from 8 schools in SutthinThai Consortium- a total of 210 samples. The research instruments were a five-level rating scale questionnaire. The statistics employed in the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson's correlation coefficient. The results found that 1) The leadership in the digital age of school administrators in SutthinThai Consortium under the Secondary Educational Area Office Chiang Rai in total average and each aspect were at a high level. 2) The results of the information analysis about the school administration of school administrators, the total average and each aspect were at a high level. 3) The results of the information analysis about the leadership in the digital age and the school administration of school administrators in SutthinThai Consortium under the Secondary Educational Area Office Chiang Rai was a moderately positive correlation (r = 0.639**) at the 0.01 level of statistical significance
Keywords
ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล, ดิจิทัล, การบริหารสถานศึกษา, Leadership in digital age, Digital age, Educational Administrator
Citation