ผลของความเข้มข้นของโซเดียมไบคาร์บอเนตและแมกนีเซียมซัลเฟต ต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย Spirulina platensis
dc.contributor.author | ดวงกมล ปิ่นทอง | |
dc.contributor.author | พิทักษ์พงษ์ หอมนาน | |
dc.contributor.author | มัญชุพร คำใส | |
dc.date.accessioned | 2024-12-06T07:01:54Z | |
dc.date.available | 2024-12-06T07:01:54Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.description | This research aims to know effect of concentration of sodium bicarbonate and magnesium sulfate on the growth of Spirulina platensis. The S. platensis cultivation was done using 5 media which were 250 mL of C, C1, M, M1 and Z. The growth of S. platensis was done by filament count and optical density at 560 nm every 3 days for 30 days. The biomass dry weight was collected at the 30th day. The most significantly effective of sodium bicarbonate concentration in culture media C and C1 (CB and C1B) were 0, 3 and 6 g/L. As the culture media M and M1 (MB and M1B) was 6 g/L and as the culture media Z (ZB) was 0 g/L (p≤0. 05). Moreover, the most significantly effective concentration of magnesium sulfate in the culture media MB, M1B and ZB. The culture media MB and M1B (MB+ and M1B+) was 0.5 g/L and as the culture media ZB (ZB+) was 0.2 g/L (p≤0. 05). In addition, this research found that no other algae species contaminated in all culture media. | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของโซเดียมไบคาร์บอเนต และแมกนีเซียมซัลเฟตต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย Spirulina platensis ในสูตรอาหารเพาะเลี้ยง 5 สูตรอาหารเพาะเลี้ยง ได้แก่ C, C1, M, M1 และ Z ปริมาตร 250 มิลลลิตร ทำการเก็บผลโดยการนับจำนวนเส้นสาย วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 560 นาโนเมตร ทุก ๆ 3 วันเป็นระยะเวลา 30 วัน และชั่งน้ำหนักแห้งชีวมวลในวันที่ 30 ของการทดลอง พบว่า ความเข้มข้นของโซเดียมไบคาร์บอเนตที่เหมาะสมที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของสูตรอาหารเพาะเลี้ยง C และ C1 (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง CB และ C1B) ได้แก่ 0, 3 และ 6 กรัมต่อลิตร สูตรอาหารเพาะเลี้ยง M และ M1 (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง MB และ M1B) คือ 6 กรัมต่อลิตร และสูตรอาหารเพาะเลี้ยง Z (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง ZB) คือ 0 กรัมต่อลิตร (p≤0.05) จากนั้นนำ MB, M1B และ ZB มาเปรียบเทียบความเข้มข้นของแมกนีเซียมซัลเฟต พบว่า ความเข้มข้นของแมกนีเซียมซัลเฟตที่เหมาะสมที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของสูตรอาหารเพาะเลี้ยง MB และ M1B (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง MB+ และ M1B+) คือ 0.5 กรัมต่อลิตร และสูตรอาหารเพาะเลี้ยง ZB (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง ZB+) คือ 0.2 กรัมต่อลิตร (p≤0.05) นอกจากนั้นยังไม่พบการปนเปื้อนของสาหร่ายชนิดอื่นในทุกสูตรอาหารเพาะเลี้ยง | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.citation | ดวงกมล ปิ่นทอง, พิทักษ์พงษ์ หอมนาน และมัญชุพร คำใส. (2561). ผลของความเข้มข้นของโซเดียมไบคาร์บอเนตและแมกนีเซียมซัลเฟต ต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย Spirulina platensis. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา. | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/1085 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | สูตรอาหารเพาะเลี้ยง | |
dc.subject | Spirulina platensis | |
dc.subject | ความเข้มข้นของโซเดียม ไบคาร์บอเนต | |
dc.subject | ความเข้มข้นของแมกนีเซียมซัลเฟต | |
dc.subject | Media | |
dc.subject | Concentration of sodium bicarbonate | |
dc.subject | Concentration of magnesium sulfate | |
dc.title | ผลของความเข้มข้นของโซเดียมไบคาร์บอเนตและแมกนีเซียมซัลเฟต ต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย Spirulina platensis | |
dc.title.alternative | Effect of Concentration of Sodium Bicarbonate and Magnesium Sulfate on the Growth of Spirulina platensis | |
dc.type | Other |