ผลของโปรแกรมการสร้างเครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉินต่อความรู้และทักษะด้านการแพทย์ฉุกเฉินในกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชนตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

Loading...
Thumbnail Image
Date
2018
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมการสร้างเครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉินต่อความรู้ และทักษะด้านการแพทย์ฉุกเฉินในกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชนตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two groups pre-test, post-test Design) กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชน จำนวน 40 คน ใช้เกณฑ์คัดเข้าคัดออก และกลุ่มตัวแทนหลังคาเรือน สุ่มโดยวิธีจับสลาก กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane ได้จำนวน 352 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะด้านการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาฉุกเฉินชุมชน แบบทดสอบความรู้ด้านการเจ็บป่วยฉุกเฉิน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการทำงานของอาสาฉุกเฉินชุมชนในตัวแทนหลังคาเรือน แบบบันทึกเวลาปฏิบัติการฉุกเฉินตั้งแต่รับแจ้งถึงที่เกิดเหตุ (Response time) ในสถานการณ์จำลอง ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Wilcoxson signed ranks test และ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า ความรู้และทักษะด้านการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาฉุกเฉินชุมชน ความรู้ด้านการเจ็บป่วยฉุกเฉิน และความพึงพอใจต่อการทำงานของอาสาฉุกเฉินชุมชนในตัวแทนหลังคาเรือน สัดส่วนเวลาปฏิบัติการฉุกเฉินตั้งแต่รับแจ้งถึงที่เกิดเหตุ (Response time) ในสถานการณ์จำลอง หลังและก่อนจัดโปรแกรมการสร้างเครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.001, 0.001, 0.001, 0.001, 0.005 ตามลำดับ)
Description
Research Effects of the Emergency Medical Networking Program on Knowledge and Skills of Emergency Medicine in Community Emergency Volunteers at Pha-Hung Sub-district, Phan District, Chiang Rai Province. Quasi-experimental research was conducted in two groups: pre-test and post-test. The sample is divided into two groups , volunteer groups, community emergency groups number is 40 people into screening criteria exclude and Representative households randomized by lottery the sample size was determined using the Taro Yamane formula have number 352 people. The instruments used for data collection were the knowledge test and Emergency Medical Skills Assessment for Community Emergency Volunteers, Knowledge of emergency illness and job satisfaction of community emergency volunteers. Recording of emergency response time from response time in simulation scenario. Descriptive statistics average are conservative at Wilcoxson signed ranks test and Mann-Whitney U test. The results showed that the knowledge and skills of the volunteer emergency medical community, Knowledge of emergency and satisfaction with the work of volunteer emergency community representative households , Timeline of recording emergency response time in simulation scenario. After the program is different from the first program to create a network of emergency medical services are statistically significant at 0.05 (pvalue. = 0.001, 0.001, 0.001, 0.001, 0.005, respectively).
Keywords
โปรแกรมการสร้างเครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, อาสาฉุกเฉินชุมชน, The Emergency Medical Networking Program, Community Emergency Volunteers, การแพทย์ฉุกเฉิน, Emergency Medicine
Citation