รูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21
Loading...
Date
2021
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว จำนวน 205 คน บ้านเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 แห่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบตรวจความเหมาะสมร่างรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัว จำนวน 86 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินความเป็นไปได้มากที่สุด และมีความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเครือข่ายสนับสนุน รองลงมา คือ ด้านการด้าเนินการ ด้านทรัพยากรทางการศึกษา และด้านหลักสูตร ตามลำดับ 2) รูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ เครือข่ายสนับสนุนการจัดการศึกษา ประกอบด้วย ผู้จัดการศึกษา หน่วยงานที่ดำเนินการจัดการศึกษา โรงเรียนเครือข่ายบ้านเรียนและเครือข่ายทางสังคม สถานประกอบการ สถาบันศาสนา ศูนย์การเรียนรู้ หลักสูตรเอกัตบุคคล 3) ทรัพยากรการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดการศึกษา แพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์ แหล่งการเรียนรู้ และงบประมาณ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ คือ ด้านการดำเนินการ ได้แก่ ขั้นการเตรียมการจัดการศึกษา ขั้นการวางแผนการจัดการศึกษา ขั้นดำเนินจัดการเรียนรู้ ขั้นวัดผลประเมินผล และขั้นปรับปรุงการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 ผลผลิต ได้แก่ สมรรถนะ 9 ประการ องค์ประกอบที่ 5 ผลลัพธ์ องค์ประกอบที่ 6 ข้อมูลย้อนกลับ องค์ประกอบที่ 7 สภาพแวดล้อม 3) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมมีความเป็นไปได้มากที่สุดและมีความเป็นประโยชน์มากที่สุด
Description
This research aimed to study 1) status and guidelines of the basic education home school model in the 21st century 2) development of the basic education home school model in the 21st century 3) The feasibility and profitability assessment the basic education home school model in the 21st century. The method of conducting research is divided into 3 steps. Step 1 is status and guidelines of the basic education home school model in the 21st century. The sample was 205 homeschool family followed Krejcie and Morgan’s stable. They were selected by Stratified Random Sampling, 5 home school best practice and 7 experts. They were selected by Purposive Sampling. The instrument for collecting data was questionnaire and interview form. Analysis data by percentage, Mean, Standard deviation and Content Analysis. Step 2 is development of the basic education home school model in the 21st century by Focus Group Discussion of 12 experts. Analyze the data by analyzing the content. Step 3 is feasibility and profitability assessment the basic education home school model in the 21st century. The sample was 86 homeschool family followed size by determined using a 20% criterion. Specific (Purposive Sampling) research tool is a form to assess the suitability of the model. The data were analyzed using mean and standard deviation. The research results were found as follows; 1) State and guidelines of the basic education home school model in the 21st century was at a high level 2) The basic education home school model in the 21st century have 7 components which were Element 1 Principles and Objectives. Element 2 Inputs are as follows: 1) Network to support education management consisting of educational managers agencies that conduct education management, such as the Office of Educational Service Areas, which has 3 work groups. is an educational management promotion group Policy and Plan Group Supervision group to monitor and evaluate educational management and financial and property group schools school networks and social networks establishments religious institutions learning centers 2) Home study course 3) Educational resources consist of educational management plans, platforms, online courses, learning resources, and budgets. Element 3 is the process, which consists of 5 steps: preparation for educational management. educational management planning process learning management steps Measurement, Evaluation and Learning Improvement Stages. Element 4 Output: 9 competencies. Element 5 Outcome. Element 6 Feedback. Element 7 Environments 3) The feasibility and profitability assessment results of the basic education home school model in the 21st century was at the highest level.
Keywords
การศึกษาขั้นพื้นฐาน, การจัดการศึกษาโดยครอบครัว, ศตวรรษที่ 21, The Basic Education, Home School, The 21st Century