ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้ออาหารริมทาง (Street food) พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม

Loading...
Thumbnail Image
Date
2019
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้ออาหารริมทางพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวองค์พระปฐมเจดีย์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้ออาหารริมทางพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวองค์พระปฐมเจดีย์ 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้ออาหารริมทางพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวองค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมารับประทานอาหารริมทางพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวองค์พระปฐมเจดีย์ โดยใช้การดำเนินงานวิจัยในเชิงปริมาณ (Quantitative research) จำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เหตุผลที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาซื้ออาหารริมทางก็เพื่อลดความหิว โดยบุคคลที่ร่วมเดินทางมาซื้ออาหารริมทาง คือ ครอบครัว มีความถี่ในการเดินทางมาซื้ออาหารริมทางมากกว่า 4 ครั้ง และช่วงเวลาในการเดินทางมาซื้ออาหารริมทาง คือ วันหยุดเสาร์- อาทิตย์ 3) ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาซื้ออาหารริมทางพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.87) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย = 4.04) รองลงมาได้แก่ ด้านบุคลากร และด้านราคา (มีค่าเฉลี่ย = 4.02 เท่ากัน) ด้านกระบวนการให้บริการ (ค่าเฉลี่ย = 3.96) ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ (ค่าเฉลี่ย = 3.93) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (ค่าเฉลี่ย = 3.76) และส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด (ค่าเฉลี่ย = 3.73) ตามลำดับการวิจัยนี้จะสามารถสร้างคุณประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อการท่องเที่ยวพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวรอบองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และผู้ประกอบการด้านอาหาร และเครื่องดื่มในจังหวัดนครปฐม โดยภาครัฐสามารถนำข้อมูลการวิจัยมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Street food) ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม ภาคเอกชนจำเป็นต้องเล็งเห็นความสำคัญและร่วมมือกันปรับปรุงการให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Street food) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัดนครปฐม อีกทั้งยังต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อสร้างทัศนคติที่ดี การเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดนครปฐมอย่างยั่งยืนตลอดไป
Description
The purposes of this study were : 1) to study factors relating to purchase street foods in Phra Pathom Chedi area 2) to examine behavior relating to purchase street foods in Phra Pathom Chedi area 3) to study service marketing mix that affect relating to purchase street foods in Phra Pathom Chedi area. The samples were 400 Thai tourists who had street foods in Phra Pathom Chedi area by using quantitative research. The statistics used were percentage, arithmetic mean and standard deviation. The result found that the reason that tourists bought street food was to reduce their hunger and the ones who came with them were their family. Frequencies of purchasing street foods were less than 4 times which mostly travel on the weekend, Saturday and Sunday. 3) Importance of the factors of service marketing mix of tourists who purchased street foods in Phra Pathom Chedi area as a whole was at high level (=3.87). When considered in each aspect, it was found that the highest average aspect was product (=4.04), personnel and price (=4.02, equally), process of service (=3.96), physical components (=3.93), the distribution channels (=3.76), and highest average aspect was marketing promotion (=3.73). This research will give concrete benefits to tourism in tourist areas around Phra Pathom Chedi, Nakhon Pathom and food and beverage entrepreneurs in Nakhon Pathom Province. The government can use the research information to guide the street food tourism promotion in accordance with Nakhon Pathom development plan. The private sector needs to foresee the importance and collaborate to improve the street food service in accordance with Nakhon Pathom strategic. Moreover, they need to create the understanding with people in the area to create a good attitude in being a good host for sustaining food tourism in Nakhon Pathom.
Keywords
การตัดสินใจซื้อ, อาหารริมทาง, องค์พระปฐมเจดีย์, Purchase decision, Street food, Phra Pathom Chedi
Citation
จรรญภร แพเกิด. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้ออาหารริมทาง (Street food) พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).