Research
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research by Subject "Stakeholders"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการปรับหลักสูตรทันตแพทยศาสตรมหาบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) สุธาสินี หินแก้วงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิต อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาเกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักสูตร และความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตเกี่ยวกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิต หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2556 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีการศึกษา 2562 โดยศึกษาจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำข้อมูลมาวิเคราะห์จากบัณฑิต จำนวน 25 ชุด อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา จำนวน 13 ชุด และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 18 ชุด และจากการศึกษาวิจัย พบว่า วัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรมีความเข้าใจง่าย และตรงกับจุดมุ่งหมายที่นิสิตต้องการ และสอดคล้องกับรายวิชาที่ทำการเรียนการสอนในหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตรมีจำนวนหน่วยกิตที่มีความหมาะสม เนื้อหารายวิชาในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ชีววิทยาช่องปาก ทันตกรรมบดเคี้ยว ทันตกรรมประดิษฐ์ วิทยาเอ็นโดดอนต์ ทันตกรรมชุมชนและทันตกรรมสาธารณสุขมีความเหมาะสม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้ ส่วนเนื้อหาวิชาศึกษาทั่วไป ศัลยศาสตร์ช่องปาก ทันตกรรมจัดฟัน วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก ทันตกรรมหัตถการ ปริทันตวิทยา และทันตกรรมสำหรับเด็ก มีระดับความเหมาะสมระดับปานกลาง การบริหารจัดการหลักสูตร พบว่า ควรเน้นการเรียนการสอนโดยอาจารย์ประจำ กรณีมีความจำเป็นต้องดำเนินการสอน โดยอาจารย์พิเศษควรบูรณการเนื้อหารายวิชาร่วมกัน และควรจัดหาแหล่งข้อมูล แหล่งประชาสัมพันธ์ด้านวิชาการและวิชาชีพ อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำปรึกษาด้านการเรียนการสอน จัดหากิจกรรมส่งเสริมหลักสูตร ห้องสมุด ห้องเรียน ที่พักผ่อน ที่ทำงานให้แก่นิสิตเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน และสนับสนุนรางวัลทุนการศึกษาให้แก่นิสิต ด้านผลการเรียนรู้ของบัณฑิต พบว่า หลักสูตรมีการเรียนการสอน ที่ครอบคลุมผลการเรียนรู้ และสามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถสอดคล้องกับความคาดหวังของหน่วยงาน และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นอย่างดี และมีความโดดเด่นในด้านคุณธรรมจริยธรรม ยึดถือผู้ป่วยเป็นหลัก ตลอดทั้งปฏิบัติตามระเบียบและข้อกำหนดของหน่วยงาน หากเสริมทักษะความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA) และการทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพเพื่อการทำงานแบบผสมผสานก็จะช่วยส่งเสริม และเพิ่มพูนความรู้ความสามารถแก่บัณฑิตและยังประโยชน์ต่อหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิตต่อไป