Browsing by Author "เทวา หมื่นจันทร์"
Now showing 1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
- Itemการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) เทวา หมื่นจันทร์การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากระบบขนส่งมวลชน ในมหาวิทยาลัยพะเยา ใช้วิธีการคำนวณและค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามคำแนะนำของคู่มือการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปี 2006 (Revised 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories) โดยมีรถโดยสารทั้งหมด 40 คัน ทั้งหมดเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นเชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียว โดยประเมินก๊าซเรือนกระจกหลักที่สำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) และก๊าซไนรตรัสออกไซด์ (N2O) ผลการศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบขนส่งมวลชน ในมหาวิทยาลัยพะเยา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ที่ใช้เชื้อเพลิง NGV จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 1,579.48 tCO2eq/ปี เมื่อเปรียบเทียบตามอัตราส่วนการสิ้นเปลืองกับเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่นิยมใช้ในการขนส่งมวลชนโดยทั่วไปแล้ว การใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันดีเซลจะทำให้เกิดปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 1,605.24 tCO2eq/ปี เพราะฉะนั้นการขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัยพะเยาในปีงบประมาณ 2560 จึงสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 25.77 tCO2eq นอกจากนี้ จากการศึกษาการปล่อยมลพิษของการขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยประเมินจากมลพิษหลัก 4 ชนิด พบว่า มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) 1,857.66 Kg/ปี ก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) 3,096.10 Kg/ปี ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) 8,669.07 Kg/ปี และเกิดฝุ่นละออง (PM) 123.84 Kg/ปี เมื่อเปรียบเทียบตามอัตราส่วนการสิ้นเปลืองกับเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล พบว่า การใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) มีการปล่อยมลพิษที่น้อยกว่าการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล โดยคิดเป็นปริมาณดังนี้ การปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) น้อยกว่า 8.33 เท่า ก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) น้อยกว่า 1.40 เท่า ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) น้อยกว่า 3.71 เท่า และเกิดฝุ่นละออง(PM) น้อยกว่า 11.00 เท่า
- Itemปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2015) เทวา หมื่นจันทร์การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานของการรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยพะเยา และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยพะเยา ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั้งหมด จำนวน 132 คน และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยพะเยาเป็น เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 90.91 ช่วงอายุระหว่าง 30-39 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.33 อยู่ในสถานภาพสมรส ร้อยละ 49.24 มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเมืองพะเยา ร้อยละ 62.88 ระดับวุฒิการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่าคิดเป็นร้อยละ 43.94 ได้รับค่าตอบแทนประมาณ 10,000 - 14,999 บาท ต่อหนึ่งเดือนร้อยละ 50.76 มีประสบการณ์การทำงาน 0 - 10 ปี ร้อยละ 84.09 การประเมินด้านสภาพการปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ด้านที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.26 และด้านสภาพการปฏิบัติงาน และความรับผิดชอบในหน้าที่ปกติ ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ 3.88 การประเมินระดับของการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยความคิดเห็นเฉลี่ยรวม 4.22 อยู่ในระดับมากที่สุด หากดูแต่ละข้อย่อย พบว่า ความคิดเห็นต่อการเห็นสิ่งผิดปกติขณะปฏิบัติหน้าที่เวรยาม จะรีบประสานผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในทันทีมีคะแนนสูงสุด คือ 4.61 และพบว่า ความคิดเห็นต่อพื้นที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เวรยามนั้น มีแสงสว่างเพียงพอต่อการปฏิบัติงานมีความคิดเห็นต่ำสุด คือ 3.78
- Itemแนวทางการจัดการระบบการจราจรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุด้านการจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) เทวา หมื่นจันทร์การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางจราจร ในมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการเกิดอุบัติเหตุทางด้านการจราจร ในมหาวิทยาลัยพะเยา ในปีงบประมาณ 2559-2560 เกิดขึ้นทั้งหมด 43 ครั้ง เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 25 ครั้ง และปีงบประมาณ 2560 จำนวน 18 ครั้ง แยกเป็นเพศชาย 41 คน เพศหญิง 14 คน เป็นรถยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 48 คัน และรถอื่น เช่น รถตู้ รถเมล์โดยสาร รถบรรทุก ฯลฯ จำนวน 13 คัน สาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุเกิดจากผู้ขับขี่เอง เช่น ชนโดยไม่มีคู่กรณี ตกลงข้างทาง ชนคันอื่นที่จอดอยู่ ฯลฯ 29 ครั้ง เกิดขึ้นโดยมีคู่กรณี คือ ต่างคนต่างขับ เบียดกัน ชนกัน ฯลฯ 11 ครั้ง และสุดท้ายเกิดจากความบกพร่องของรถยนต์ที่ขับขี่ 3 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบการเกิดอุบัติเหตุทางการจราจรในปีงบประมาณ 2559 และปีงบประมาณ 2560 เห็นว่ามีแนวโน้มลดลงทั้งสามกรณี จุดที่มีอุบัติเหตุเกิดมากที่สุด คือ ทางสายหลักเนื่องจากมีการใช้ความเร็วในการขับขี่สูง อีกทั้งสภาพภูมิประเทศเป็นทางขึ้นเขาลงเขา ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จากการศึกษา พบว่า อุบัติเหตุในมหาวิทยาลัยพะเยานั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ปัจจัยหลัก คือ ความประมาทของผู้ขับขี่เอง และรองลงมา คือ เกิดจากความบกพร่องของรถยนต์ หรือยานพาหนะ โดยมีสภาพแวดล้อมเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น ดังนั้นในการจัดระบบการจราจรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุด้านการจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยา สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ผู้ขับขี่ (Driver) รถยนต์ (Vehicle) สภาวะแวดล้อม (Environmental) ตามลำดับ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ เป็นข้อมูลปีงบประมาณ 2559-2560 ซึ่งมีการเก็บข้อมูลโดยกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยพะเยา แต่สภาพการจราจรยอมมีการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ ปีด้วยเหตุนี้หากต้องการพัฒนาระบบจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยาแต่ละครั้ง ควรมีการเก็บข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด เพื่อมีแนวทางการจัดการระบบการจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยาที่เหมาะสมต่อไป