Browsing by Author "อมรรัตน์ มังคลาด"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการคัดเลือกจุลินทรีย์เพื่อผลิตอาหารสัตว์หมัก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) ปฏิวัติ แพรงาม; อมรรัตน์ มังคลาด; อิงธิลา ผดาวันการศึกษาอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อคัดเลือกจุลินทรีย์ที่เหมาะสมในการผลิตอาหารสัตว์หมัก โดยคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้แก่ เปลือกสับปะรด และกากปาล์ม ผลการทดสอบพบว่า แบคทีเรียไอโซเลต 12 ที่คัดแยกได้จากเส้นก๋วยเตี๋ยวแสดงค่ากิจกรรมการย่อยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้ดีที่สุด เมื่อวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16s rDNA มีความคล้ายคลึงกับ Bacillus amyloliquefaciens ร้อยละ 99.93 และในการคัดเลือกยีสต์ที่สามารถผลิตเอทานอลได้ดีที่สุด คือ ยีสต์พันธุ์กลายไอโซเลต 96 สามารถผลิตเอทานอลสูงถึงร้อยละ 7 ในระยะเวลา 7 วัน ซึ่งมีปริมาณเอทานอลสูงกว่ายีสต์ชุดควบคุม จากนั้นจึงนำจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดที่คัดเลือกได้มาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์หมักจากเปลือกสับปะรดและกากปาล์ม ร่วมกับแบคทีเรียกรดแลคติกเป็นระยะเวลาหมัก 15, 30 และ 60 วัน เพื่อตรวจสอบคุณค่าทางโภชนะของอาหารสัตว์หมัก โดยวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณโปรตีน และแอลกอฮอล์ ผลการศึกษาพบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของอาหารหมักจากสับปะรดที่เติมเชื้อจุลินทรีย์ลดลง อยู่ในช่วง 3.62 ถึง 4.00 มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุดในวันที่ 60 (ร้อยละ 5.61) และปริมาณแอลกอฮอล์สูงที่สุดในวันที่ 30 (ร้อยละ 4.68) สำหรับอาหารหมักจากกากปาล์มที่เติมเชื้อจุลินทรีย์มีค่าความเป็นกรด-ด่างลดลงอยู่ในช่วง 4.32 ถึง 5.67 มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุดในวันที่ 60 (ร้อยละ 6.71) และมีปริมาณแอลกอฮอล์สูงที่สุดในวันที่ 15 (ร้อยละ 3.01) ดังนั้นอาหารสัตว์หมักที่เติมจุลินทรีย์ทั้ง 3 ชนิดทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับอาหารสัตว์หมัก และยังเพิ่มโปรตีนรวมไปถึงแอลกอฮอล์ในอาหารสัตว์หมักเพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการตลอดระยะเวลาการหมัก 60 วัน