Browsing by Author "สุพิชชา เสาร์แก้ว"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemสัณฐานวิทยาและมอร์โฟเมตริกของส่วนหัว หนวด และกราม ในชันโรงไทย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ศิริพร พิมมะสอน; สุพิชชา เสาร์แก้ว; สุภัค เศรษฐกุดั่นชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรที่มีความสำคัญ พบการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางในประเทศไทย ชันโรงสกุล Homotrigona, Tetrigona และ Lepidotrigona เป็นชันโรงที่มีนิสัยสร้างรังในโพรงต้นไม้ที่มีชีวิต และมีปากทางเข้ารังมีลักษณะเป็นปากแตรเพียง 1 ช่องทาง การศึกษาครั้งนี้ ทำการตรวจความผันแปรบนโครงสร้างหัวของตัวอย่างชันโรง 3 สกุล (n=50 รัง) ได้แก่ Homotrigona (n=14) Tetrigona (n=31) และ Lepidotrigona (n=5) โดยการวิเคราะห์มอร์โฟเมตริกแบบมาตรฐาน (31 ลักษณะ) โดยทำการวัดโครงสร้างหัว (12) ค่าสัดส่วนของหัว (5) ความยาวหนวด (13) และกราม (1) ผลการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีจำแนกกลุ่ม แสดงผลการจำแนกกลุ่มชันโรงทั้ง 3 สกุล ออกจากกันอย่างชัดเจน รวมทั้งสามารถจำแนกในระดับชนิดได้ดีด้วยการใช้ลักษณะทั้งหมด หรือการวัดโครงสร้างหัวและค่าสัดส่วนของหัว แต่การใช้ค่าการวัดจากส่วนหัวเพียงอย่างเดียวแสดงให้เห็นถึงการกระจายปะปนกันของชันโรงระหว่างสกุล Tetrigona และ Lepidotrigona และในการจำแนกชนิดทั้ง 3 สกุล ผลของมอร์โฟเมตริกแสดงการระบุชนิดในสกุล Homotrigona ได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ H. aliceae และ H. fimbriata สกุล Tetrigona ระบุได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ T. apicalis และ T. melanolueca ส่วนสกุล Lepidotrigona ระบุได้ 1 กลุ่ม คือ L. terminata นอกจากนี้ การตรวจสอบระบุกลุ่มชนิดของชันโรง จำเป็นต้องตรวจสอบลักษณะสัณฐานวิทยาบนหัว เช่น สีแผ่นปิดเหนือส่วนปาก สีหนวดปล้องสเคป และสีของกราม นอกจากนี้ผลทางกายวิภาควิทยาส่วนหัว มีส่วนสนับสนุนในการจัดจำแนกสกุลและชนิดของชันโรงได้ดียิ่งขึ้นและยังคงเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและมีความรวดเร็วในการศึกษา