Browsing by Author "สหัทยา สุขใหญ่"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพราเอนโดไฟท์ (Trichoderma phayaoense L1I3) เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต และควบคุมราก่อโรคของเมล่อน และคะน้า(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) สหัทยา สุขใหญ่งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากราเอนโดไฟท์ Trichoderma phayaoense (L1I3) เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต และควบคุมรา Fusarium hinanense สาเหตุโรคเหี่ยวของเมล่อน และ Pythium aphnidermatum ราสาเหตุโรคเน่าคอดินของคะน้า โดยทดสอบวัสดุที่เหมาะสมต่อการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพแบบเม็ด พบว่า เวอร์มิคูไลท์ผสมแป้งข้าวเหนียว มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาพัฒนาเป็นสูตรการทำผลิตภัณฑ์ชีวภาพแบบเม็ดจากราเอนโดไฟท์ T. phayaoense (L1I3) โดยมีค่าการคงรูปในน้ำที่เหมาะสม มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 6.21 ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญของรา T. phayaoense (L1I3) มีค่าการนำไฟฟ้าเท่ากับ 0.50 เดซิซีเมนต่อเมตร ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ อีกทั้งค่าความแข็งอยู่ในช่วงที่ไม่แตกหักง่ายและไม่แข็งเกินไป ต่อมาศึกษาอัตราการมีชีวิตรอดของรา T. phayaoense (L1I3) ในผลิตภัณฑ์แบบเม็ดและแบบผง โดยเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิ 4, 8, 28 และ 40 องศาเซลเซียส พบว่า ผลิตภัณฑ์ชีวภาพแบบผงและแบบเม็ด มีแนวโน้มที่จะเก็บรักษาได้นานที่อุณหภูมิต่ำ คือ เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส มีเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดของรา T. phayaoense (L1I3) มากที่สุดหลังเก็บรักษานาน 12 เดือน เท่ากับ 80.33 และ 75.48 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่การเก็บที่อุณหภูมิที่ 40 องศาเซลเซียส พบว่า ผลิตภัณฑ์แบบเม็ดมีอัตราการมีชีวิตรอดมากกว่าแบบผงในเดือนที่ 8 เท่ากับ 51.12 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่แบบผงมีอัตราการมีชีวิตรอด เท่ากับ 35.97 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาผลของผลิตภัณฑ์ชีวภาพต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของเมล่อนและคะน้าในระดับโรงเรือน พบว่า เมล่อนที่ใส่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพแบบเม็ดรา T. phayaoense (L1I3) มีค่าความสูง จำนวนใบ จำนวนข้อ น้ำหนักต้นสด น้ำหนักผลสด และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ เฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 217.8 เซนติเมตร, 28 ใบ, 27 ข้อ, 540.14 กรัม, 1.53 กิโลกรัม และ 14.70 °brix ตามลำดับ ซึ่งมากกว่ากรรมวิธีที่อื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การส่งเสริมการเจริญเติบโตของคะน้า พบว่า ในกรรมวิธีที่ใส่ผลิตภัณฑ์แบบเม็ดรา T. phayaoense มีค่าเส้นรอบวงของลำต้น เฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 14.13 มิลลิเมตร ส่วนด้านผลผลิต และน้ำหนักสดของต้นคะน้า ซึ่งมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยเคมี การแยกเชื้อกลับเพื่อตรวจสอบการอยู่รอดของราไตรโคเดอร์มาทั้งในเมล่อนและคะน้า ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา และโครงสร้างของราภายใต้กล้องจุลทรรศน์ด้วยวิธีการเลี้ยงบนสไลด์ พบราไตรโครเดอร์มาบริเวณดิน ราก และลำต้น ในทั้งสองพืชทดสอบ การทดสอบผลิตภัณฑ์ชีวภาพอัดเม็ดจากราเอนโดไฟท์ T. phayaoenses ในการควบคุมรา F. hainanense สาเหตุโรคเหี่ยวในเมล่อนในระยะต้นกล้า และรา P. aphnidermatum สาเหตุโรคเน่าของคะน้า พบว่า สามารถลดความรุนแรงของโรคได้อย่างประสิทธิภาพ