Browsing by Author "วรินยุพา คงสนุ่น"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemบทบาทในการดําเนินตามนโยบายแก้ไขปัญหาหมอกควันของผู้นําชุมชน กรณีศึกษา ตําบลแม่กา อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) วรินยุพา คงสนุ่นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) บทบาทในการดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาหมอกควันของผู้นำชุมชน 2) สภาพแวดล้อมเงื่อนไขของการทำงานเพื่อบรรลุนโยบายสาธารณะอันส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาหมอกควันของผู้นำชุมชน 3) นำเสนอแนวทางการเสริมสร้างบทบาทในการดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาหมอกควันของผู้นำชุมชน โดยมีกรณีศึกษาที่ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลระดับปฐมภูมิจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) รวม 18 หมู่บ้าน จำนวน 18 คน ตัวแทนชุมชน จาก 18 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 คน จำนวน 36 คน และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน หน่วยงานละ 1 คน จำนวน 8 คน ได้แก่ ตัวแทนอำเภอ เทศบาลตำบลแม่กา กรมป่าไม้ กองทัพบก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพะเยา สถานีพัฒนาที่ดิน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่กา และมหาวิทยาลัยพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาการแก้ไขปัญหาหมอกควันในตำบลแม่กา พบว่า ภาครัฐส่วนกลางเน้นการรวมศูนย์อำนาจในการสั่งการแบบบนลงล่าง ภาครัฐสั่งการให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนให้ผู้นำชุมชนมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวใน 5 ประเด็น ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การปลูกจิตสำนึก การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การจัดทำประชาคม และการจัดทำข้อตกลงชุมชน นอกจากนี้ ผลการศึกษาเรื่องบทบาทผู้นำชุมชน พบว่า ผู้นำชุมชนตําบลแม่กา เป็นผู้นำแบบผู้ตามมีส่วนร่วม และผู้นำตามสถานการณ์ที่เน้นการรักษาสัมพันธภาพ ผู้นำชุมชนพยายามเปิดพื้นที่ให้สมาชิกชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหาหมอกควันผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้นำชุมชนมีพฤติกรรมที่มุ่งรักษาสัมพันธภาพภายในชุมชนมากกว่าประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา เพราะผู้นำชุมชนต้องการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง อุปสรรคและปัญหาที่พบ คือ การดำเนินการแก้ไขปัญหาหมอกควันแบบรัฐรวมศูนย์ การเน้นการสั่งการจากภาครัฐส่วนกลาง ให้ผู้นำชุมชนดำเนินนโยบายตามที่ภาครัฐได้กำหนดไว้ ส่งผลให้ผู้นำและคนในชุมชนไม่สามารถสะท้อนอุปสรรคต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาให้ภาครัฐส่วนกลางได้รับรู้ และปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ประการนี้จึงส่งผลต่อการขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการแก้ปัญหาหมอกควัน อีกทั้งส่วนกลางมิได้อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรงบประมาณ และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในภาระงานที่ต้องการความรู้ความสามารถทางเทคนิคสำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควัน เพื่อให้ผู้นำชุมชนได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน ภาครัฐส่วนกลางควรสนับสนุนการกระจายอำนาจในการกำหนดนโยบาย ยิ่งไปกว่านั้นผู้นำชุมชนตำบลแม่กา ควรปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการแก้ไขปัญหาที่โดยเน้นการเป็น ผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม ผู้นำแบบส่งเสริมความร่วมมือ และผู้นำแบบประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การแก้ไขหมอกควันในตำบลแม่กาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล