Browsing by Author "รพีพร เสาร์แดน"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemวาทกรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่นในนิทานพื้นบ้านล้านนา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) รพีพร เสาร์แดนการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาวาทกรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านล้านนา 2) ศึกษากลวิธีการสร้างวาทกรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่นในนิทานพื้นบ้านล้านนา โดยนำข้อมูลจากเอกสารนิทานพื้นบ้านล้านนาของสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 410 เรื่อง นำมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดเรื่องวาทกรรม (Discourse) ของมิเชล ฟูโกต์ (Michael Foucault) แนวคิดอัตลักษณ์ (Identity) และแนวคิดนิทานพื้นบ้านแล้วนำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า วาทกรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่นล้านนาที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านล้านนา มี 9 วาทกรรมอัตลักษณ์ ได้แก่ 1) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประเพณี ชาวล้านนามีความศรัทธาและยึดมั่นในพระพุทธศาสนา โดยยึดหลักธรรมและปรัชญาคำสอน เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 2) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านภาษา มีการใช้คำในการตั้งชื่อ การใช้คำเรียก การใช้คำนำหน้าชื่อ การใช้คำที่มีความหมายเดียวกันกับภาษาไทยมาตรฐานแต่ออกเสียงไม่เหมือนกัน 3) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านอุปนิสัย มีความโดดเด่นด้านความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เคารพเชื่อฟังผู้มีอาวุโส อีกทั้งฝังใจกับการเสี่ยงโชค 4) วาทกรรมอัตลักษณ์ของสตรีล้านนา มีบทบาทหน้าที่การเป็น “ภรรยา” ที่รับผิดชอบงานในบ้านทุกอย่าง ในขณะเดียวกันต้องตกอยู่ใต้อำนาจของผู้ชายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 5) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านการประกอบอาชีพประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก 6) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านที่อยู่อาศัย จะสร้างที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ วีถีชีวิตจึงมีความผูกพันกับธรรมชาติ 7) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านอาหาร มีกรรมวิธีการปรุงง่าย ๆ ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นของตนเอง 8) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านการแต่งกายจะแต่งกายพื้นเมืองโดยใช้ผ้าทอ และ 9) วาทกรรมอัตลักษณ์ด้านความเชื่อ มีความเชื่อทางพระพุทธศาสนาผสานกับสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ สำหรับกลวิธีการสร้างวาทกรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่นในนิทานพื้นบ้านล้านนา จำแนกได้ 5 กลวิธี คือ 1) กลวิธีทางศัพท์ เช่น การใช้คำเรียก การใช้คำกริยา การกล่าวอ้าง 2) กลวิธีการขยายความ เช่น การขยายความที่แสดงอัตลักษณ์เชิงบวก และการขยายความที่แสดงอัตลักษณ์เชิงลบ 3) กลวิธีทางวัจนกรรมปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม เช่น การใช้มูลบท การใช้วัจนกรรม และการใช้อุปลักษณ์ เพื่อตอกย้ำและผลิตซ้ำความเป็นล้านนา 4) การใช้กลวิธีทางวาทศิลป์ โดยนำคำประเภทเดียวกันชนิดเดียวกันมาซ้ำกัน และ 5) การใช้กลวิธีทางสัญญะ