Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "ภคพร งามแสง"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ภคพร งามแสง
    ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) เป็นหนึ่งในมลสารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคระบบทางเดินหายใจ ในภาคเหนือตอนบนประสบปัญหาหมอกควันจากฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นประจำทุกปี จากข้อมูลความเข้มข้นของ PM10 ในภาคเหนือตอนบนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2563 พบจำนวนวันที่ PM10 เกินค่ามาตรฐานรายวันของประเทศไทย (120 μg/m3) เพิ่มถึงกว่า 175 วัน ด้วยเหตุนี้การศึกษาผลกระทบจากปัญหาของ PM10 ต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของค่าความเข้มข้นของ PM10 ต่อจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจ ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน และพะเยา ในปี พ.ศ. 2555 โดยการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพจากสารมลพิษทางอากาศ ด้วยโปรแกรม BenMAP (The environmental Benefits Mapping and Analysis Program-Community Edition) งานวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษากลุ่มอายุเป้าหมายประชากรมีช่วงอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งใช้ค่าสัมประสิทธิ์ทางระบาดวิทยาของ PM10 ต่ออัตราการเสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจ (β) เท่ากับ 0.00672) และมีการเปรียบเทียบเมื่อลดระดับความเข้มข้นของ PM10 ลง 50% 20% และ 15% จะช่วยหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจถึง 214 คน 91 คน และ 69 คน ตามลำดับ ซึ่งพบว่า เมื่อลดระดับความเข้มข้นของ PM10 ลง 50% จะช่วยหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจได้มากกว่าการลดระดับความเข้มข้นของ PM10 ลง 20% และ15% สูงถึงร้อยละ 57.5 และ67.8 ตามลำดับ จากผลการศึกษานี้สามารถระบุผลกระทบต่อสุขภาพ และประเมินความเสี่ยงจากการได้รับสารมลพิษทางอากาศได้ และเพื่อเป็นแนวทางการจัดการนโยบายด้านคุณภาพอากาศในอนาคตของประเทศไทย

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback