Browsing by Author "พิพัฒน์ ศรไพบูลย์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemรูปแบบการพัฒนาการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) พิพัฒน์ ศรไพบูลย์การวิจัยนี้แบ่งเป็นสามระยะ การวิจัยระยะที่หนึ่งมุ่งสร้างเครื่องมือซึ่งเป็นแบบวัดที่มีคุณภาพสูง เพื่อวัดการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครู และอีก 3 ตัวแปรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลังจากมีการตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นได้ใช้แบบวัดทั้ง 4 กับกลุ่มตัวอย่าง 40 คน สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) 350 คน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) 300 คน ได้มีการหาความตรงโดยวิเคราะห์องค์ประกอบและวิธีอื่น ๆ ผลได้พบว่า แบบวัดดังกล่าวมี 12 ถึง 15 ข้อความ มี 2 ถึง 3 องค์ประกอบมีร้อยละของการอธิบาย 52.38 ถึง 61.43 มีค่าความเที่ยงโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฝ่า เท่ากับ 0.86 ถึง 0.93 และยังมีความตรงเชิงลู่เข้า การวิจัยระยะที่สอง มุ่งศึกษารูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดตัวแปรที่เป็นมาตรประมาณรวมค่า จำนวน 11 แบบวัด ที่มีค่าจำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ 0.265 ถึง 0.828 ค่าความเที่ยงตั้งแต่ 0.687 ถึง 0.942 สถิติที่ใช้เพื่อตรวจสอบสมมติฐานประกอบด้วย Stepwise Multiple Regression Analysis, Structural equation modeling: SEM การวิจัยพบว่า กลุ่มตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุ 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มสามารถทำนายการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครูได้มากกว่าร้อยละ 30 โมเดลปัจจัยเชิงเหตุของพฤติกรรมการทำงานอย่างอุทิศตนได้รับการยืนยันจากข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับการวิจัยระยะที่สาม เป็นการวิจัยเชิงทดลองมุ่งศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครู กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ข้าราชการครูที่สมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครู และแบบวัดตัวแปร 4 แบบวัดที่เกี่ยวกับผลการพัฒนาฯ สถิติที่ใช้เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน ประกอบด้วย T-test independent และ ANOVA with repeated measures การวิจัยพบว่า ครูที่ได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุการทำงานอย่างอุทิศตนมีพัฒนาการจิตลักษณะที่ฝึก และแนวโน้มการเกิดพฤติกรรมการทำงานอย่างอุทิศตนของครู สูงกว่าครูที่ไม่ได้รับการฝึก และพบว่า เมื่อวัดติดตาม 2 สัปดาห์หลังฝึกผลดังกล่าวยังคงอยู่