Browsing by Author "พัชรินทร์ พุ่มจันทร์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemสภาพการขับเคลื่อนนโยบายคุณภาพของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) พัชรินทร์ พุ่มจันทร์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการขับเคลื่อนนโยบายคุณภาพของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 และเพื่อเปรียบเทียบสภาพการขับเคลื่อนนโยบายคุณภาพของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของสถานศึกษาของผู้บริหารและครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test และค่า F-test จากผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการขับเคลื่อนนโยบายคุณภาพของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ทั้ง 4 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านครูคุณภาพ และด้านนักเรียนคุณภาพ รองลงมา คือ ด้านโรงเรียนคุณภาพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านสำนักงานเขตคุณภาพ 2) เปรียบเทียบสภาพการขับเคลื่อนนโยบายคุณภาพของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 พบว่า 1) จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นในด้านสำนักงานเขตพื้นที่คุณภาพ ด้านโรงเรียนคุณภาพ ด้านครูคุณภาพ และด้านนักเรียนคุณภาพมีความแตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวมพบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นในด้านสำนักงานเขตพื้นที่คุณภาพ ด้านโรงเรียนคุณภาพ ด้านครูคุณภาพ และด้านนักเรียนคุณภาพ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมพบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่อยู่ในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นในด้านสำนักงานเขตพื้นที่คุณภาพ ด้านโรงเรียนคุณภาพ ด้านครูคุณภาพ และด้านนักเรียนคุณภาพมีความแตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05