Browsing by Author "ปิยมาส แก้วอินตา"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับปรุงระบบรายงานการประเมินตนเองระดับแผนกวิชาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา (DVe-Sar) กรณีศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ปิยมาส แก้วอินตาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพระบบ คุณภาพสารสนเทศ คุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและความพึงพอใจในการใช้งานระบบ DVe-Sar และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบ DVe-Sar ของผู้ใช้งาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้งานระบบ DVe-Sar ในปีการศึกษา 2565 ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย จำนวน 105 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบ DVe-Sar และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และค่าสถิติไค-สแควร์ (X2) ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามด้านต่าง ๆ คือ ด้านคุณภาพระบบ ด้านคุณภาพสารสนเทศ ด้านคุณภาพบริการ ด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานระบบ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้งานระบบ ด้านความปลอดภัยของระบบ และด้านความพึงพอใจของระบบ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในภาพรวมมีความสอดคล้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์พิจารณาที่กำหนดไว้ และผลการทดสอบสมมติฐานโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยสมการโครงสร้างที่มีอิทธิพลต่อการปรับปรุงระบบ DVe-Sar กรณีศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวก ได้แก่ คุณภาพระบบเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อการรับรู้ความง่ายในการใช้งานระบบ, คุณภาพสารสนเทศเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อการรับรู้ประโยชน์ของการใช้งานระบบ, คุณภาพการบริการเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อการรับรู้ความง่ายในการใช้งานระบบ การรับรู้ประโยชน์ของการใช้งานระบบและความปลอดภัยของระบบ, ความง่ายในการใช้งานระบบเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของระบบ, ประโยชน์ของการใช้งานระบบเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของระบบ และความปลอดภัยของระบบเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของระบบ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลเชิงลบ ได้แก่ คุณภาพระบบเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงลบต่อการรับรู้ประโยชน์ของการใช้งานระบบและความปลอดภัยของระบบ, คุณภาพสารสนเทศเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงลบต่อการรับรู้ความง่ายในการใช้งานระบบและความปลอดภัยของระบบ