Browsing by Author "ปณัยกร ธีรธรรมปัญญา"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการสำรวจพืชอาหารนกยูงในพื้นที่ป่าอนุรักษ์นกยูงไทย มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) ปณัยกร ธีรธรรมปัญญาการศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาพืชที่เป็นอาหารของนกยูงไทยในป่าเขตหลังมหาวิทยาลัยพะเยา เทียบกับวนอุทยานร่องคำหลวง และพื้นที่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมของพื้นที่ป่าหลังมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งติดกับเขตวนอุทยานร่องคำหลวง ในการรองรับการอพยพของนกยูงในธรรมชาติสู่ผืนป่ามหาวิทยาลัยพะเยา เตรียมพื้นที่การอนุบาลเพาะเลี้ยงนกยูงไทย และการศึกษาทางธรรมชาติวิทยา และพันธุกรรม บนพื้นฐานความยั่งยืนทางทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ โดยทำการสำรวจพันธุ์พืชอาหารนกยูงวัดความหนาแน่นของพรรณไม้ชนิดหลัก สำรวจตำแหน่งของแหล่งน้ำ และจุดสร้างแหล่งพักพิงธรรมชาติ ผลการสำรวจพบว่า พื้นที่ป่าอนุรักษ์นกยูงไทยหลังมหาวิทยาลัยพะเยา มีพื้นที่ขนาด 600,000 ตารางเมตร และมีพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้ป่าคุกคามตั้งแต่เดือน มกราคม -เมษายน 2563 จำนวน 71.66 % ของพื้นที่ทั้งหมด และจัดระดับความรุนแรงอยู่ในเกณฑ์วิกฤต บนพื้นฐานความหนาแน่นของต้นไม้ใหญ่กล้าไม้ และลูกไม้ ตลอดเส้นทางสำรวจ พบแหล่งน้ำ 6 แหล่ง (จุดที่ 1 19°01'38.9''N 99°52'49.5''E, จุดที่ 2 19°01'38.2''N 99°52'50.0''E, จุดที่ 3 19°01'38.2''N 99°52'50.6''E, จุดที่ 4 19°01'36.4''N 99°52'56.9''E, จุดที่ 5 19°01'36.6''N 99°52'59.4''E และจุดที่ 6 19°01'34.1''N 99°52'03.3''E ) อีกทั้งพบบริเวณที่เป็นกอไผ่ขึ้นหนาแน่นที่เหมาะสำหรับพักพิงและหลบซ่อน 2 แหล่ง ( 19°01'43.4"N 99°52'46.2"E และ 19°01'41.4"N 99°52'45.8"E) สำหรับพื้นที่เพื่อการปลูกพืชอาหารทดแทนจะอยู่ระหว่างแหล่งน้ำจุด 4 (19°01'36.4''N 99°52'56.9''E) และจุด 6 (19°01'34.1''N 99°52'03.3''E) เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และเป็นพื้นที่ปลอดไฟป่า การสำรวจพืชอาหารนกยูง พบว่า ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์นกยูงมหาวิทยาลัยพะเยา พบพืชอาหารจำนวน 2 ชนิดที่สอดคล้องกับพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ ได้แก่ ขี้ไก่ย่าน (Mikania cordata), กก (ยังไม่ได้จัดจำแนก) และพบพืชอาหารที่สอดคล้องกับพื้นที่วนอุทยานร่องคำหลวง จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ถั่ว (ยังไม่ได้จัดจำแนก), ไผ่ (ยังไม่ได้จัดจำแนก), สัก (Tectona grandis L.f.), มะเดื่อ (Ficus racemosa L.) และกล้วยป่า (Musa acuminata) พบพืชเหล่านี้จัดเป็นพืชสมุนไพร จำนวน 4 ชนิด และมีรายงานการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อรักษาอาการของโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร (ผลกล้วย), ระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ (ใบสัก) (รากมะเดื่อ) (ผลกล้วย), ระบบขับถ่าย (ผลสุกมะเดื่อ) และโรคผิวหนัง (ใบขี้ไก่ย่าน) (เปลือกสัก) (เปลือกมะเดื่อ) สำหรับพืชอาหารนกยูงในธรรมชาติที่ไม่พบในพื้นที่ป่าอนุรักษ์นกยูงไทย มหาวิทยาลัยพะเยา มีจำนวน 12 ชนิด ได้แก่ ใต้ใบ (Phyllanthus spp.), มะเม่า (Antidesma thwaitesianum), ปอ (ยังไม่ได้จัดจำแนก), คา (Imperata cylindrica), หญ้าน้ำค้าง (Drosera indica), เมล็ดหญ้าป่า (ยังไม่ได้จัดจำแนก), กระถิน (Leucaena leucocephala), ไทร (Ficus benjamina), หนามพุงดอ (Azima sarmentosa), มะขาม (Tamarindus indica), พุทราป่า (Ziziphus spp.) และตะขบป่า (Flacourtia indica) ทั้งนี้ การแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารของสัตว์ป่า เราสามารถสร้างแหล่งอาหาร และแหล่งพักพิงเป็นการช่วยเหลือ แทนที่จะให้อาหารสัตว์ป่าโดยตรง การทำแนวกันชน (buffer zone) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อปกป้องสัตว์ป่าไม่ให้ได้รับผลกระทบโดยกิจกรรมของมนุษย์