Browsing by Author "นภาพันธ์ กันทับ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) นภาพันธ์ กันทับการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่ศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จำนวน 345 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างอาศัยความเชื่อมั่น 95% โดยใช้สูตร Taro Yamane (1973) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 18.55 ผู้สูบบุหรี่ เป็นเพศชาย จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 16.62 เพศหญิง จำนวน 15 คน ร้อยละ 4.34 ประเภทของบุหรี่ที่นิยมสูบมากที่สุด คือ บุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 76.56 ยี่ห้อบุหรี่ KNIGHT (Blue) ร้อยละ 45.31 ลักษณะการสูบ คือ สูบทุกวัน ร้อยละ 76.56 เพื่อคลายเครียด ร้อยละ 84.38 โอกาสในการสูบบุหรี่มากที่สุด คือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 20.34 แหล่งที่มาของบุหรี่ พบว่า หาซื้อได้จากร้านขายของชำ ร้อยละ 65.63 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการสูบ/ไม่สูบบุหรี่ พบว่า ด้านปัจจัยนำ ได้แก่ เพศสภาพ สาขาที่เรียน รายได้ผู้ปกครอง ลักษณะการพักอาศัย ความรู้และทัศนคติ ด้านปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โฆษณา การเที่ยวสถานบันเทิง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความสามารถในการเข้าถึงบุหรี่ และด้านปัจจัยเสริม ได้แก่ อิทธิพลของเพื่อน บุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่ และครูอาจารย์สูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบ/ไม่สูบบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ข้อค้นพบจากผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในนักศึกษายังมีทั้งเพศชายและหญิง และบุหรี่ที่สูบส่วนใหญ่เป็นบุหรี่ไฟฟ้า โดยสามารถเข้าถึงได้หลายปัจจัยทั้งปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม สถานศึกษาจึงควรแสวงหาช่องทางรณรงค์แบบเจาะจงให้มากขึ้น โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ไฟฟ้า