Browsing by Author "ธรรมรัตน์ ปัจฉิม"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วนและอ่างเก็บน้ำห้วยสระ ปี 2559(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) กรวิชญ์ ดวงกิจ; ธรรมรัตน์ ปัจฉิม; นิพิชฌน์ สามพิมพ์; ศุภกร รินวงศ์การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชกับคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วน และอ่างเก็บน้ำห้วยสระ โดยทำการเก็บตัวอย่างในเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วน บริเวณที่มีความลึกมากที่สุดตามระดับความลึกทุก ๆ 20 เมตร (0-60 เมตร) รวมทั้งผิวน้ำ และอ่างเก็บน้ำห้วยสระ บริเวณผิวน้ำ ผลการศึกษาพบว่า ในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วน มีแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 7 Division 29 species โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Chlorophyta (44.83%) รองลงมา คือ Division Cyanophyta (17.24%) Division Euglenophyta (13.79%) Division Bacillariophyta (10.34%) Division Pyrrophyta (6.90%) Division Chrysophyta (3.45%) และ Division Cryptophyta (3.45%) ตามลำดับ ส่วนในอ่างเก็บน้ำห้วยสระ พบว่า มีแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 7 Division 38 species โดยแพลงก็ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Euglenophyta (34.21%) รองลงมา คือ Division Chlorophyta (26.32%) Division Cyanophyta (13.16%) Division Bacillariophyta (13.16%) Division Chrysophyta (5.26%) Division Pyrrophyta (5.26%) และ Division Cryptophyta (2.63%) ตามลำดับ ตลอดระยะเวลา 3 เดือน พบว่า แพลงก์ตอนพืชที่มีความถี่สัมพัทธ์ และการกระจายตัวสัมพัทธ์สูงที่สุด คือ Peridiniopsis sp. จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของแพลงก์ตอนพืชกับปัจจัยคุณภาพน้ำโดยวิธี Canonical Correspondence Analysis (CCA) พบว่า มี 3 กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านกายภาพและเคมีบางประการ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ Coelastrun sp. Euglena sp.1 Euglena sp.2. Euglena sp.3 Euglena sp.4 Pandorina sp. Strombomonas sp. Trachelomonas sp.1 และ Trachelomonas sp.2 มีแนวโน้มความสัมพันธ์เชิงบวกกับ DO และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมด และปริมาณของแข็งทั้งหมด กลุ่มที่ 2 คือ Aphanocapsa holsatica Dinabryon divergens Encyonema sp. Heteronema sp. Navicula sp. Oscillatoria sp. Petalomonas sp. Strombomonas acuminata Tetroedron incus และ Trachelomonas volvocinopsis มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด ฟิคัลโคลิฟอร์ม ฟอสฟอรัสทั้งหมด และความขุ่น และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับ E. coli pH แอมโมเนียไนโตรเจน ไนโตรเจนรวม ความลึกที่แสงส่องถึง และอุณหภูมิอากาศ กลุ่มที่ 3 คือ Botryococcus braunii Closterium sp. Cosmarium sp. Cosmocladium constrictum Didymocystis sp. แaะ Synedra ulno มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ E. coli และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด ฟีคัลโคลิฟอร์ม ฟอสฟอรัสทั้งหมดความขุ่น และปริมาณของแข็งแขวนลอยในน้ำทั้งหมด การประเมินคุณภาพน้ำโดยใช้แพลงก์ตอนพืช ชนิดเด่นที่พบโดย วิธี AARL-PP Score พบว่า ตลอดระยะเวลาศึกษาคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วนและอ่างเก็บน้ำหัวยสระ อยู่ในระดับคะแนนที่ 5.6-7.5 คะแนน จัดคุณภาพน้ำตามระดับสารอาหารอยู่ในระดับ Meso-eutrophic (สารอาหารปานกลางถึงสูง) ส่วนการประเมินคุณภาพน้ำตามดัชนีคุณภาพน้ำ Water Quality Index (WQI) พบว่า คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วนและอ่างเก็บน้ำห้วยสระ อยู่ในระดับคะแนนที่ 49-76 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม-ดี และจัดอยู่ในแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 2-4-4 นอกจากนี้ยัง พบว่า ปริมาณของสารหนูในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วน และอ่างเก็บน้ำห้วยสระ มีปริมาณต่ำกว่าระดับที่สามารถตรวจวัด (0.01 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร) ในทุกตัวอย่างน้ำ