Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "ชุมพร ทูโคกกรวด"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    การประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ชุมพร ทูโคกกรวด
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน จำนวน 520 บท โดยใช้แนวคิดการประกอบสร้างภาษาในระดับสัมพันธสาร และการประกอบสร้างวรรณศิลป์ ผลการวิจัยโดยสรุปมี 2 ประการ 1) การประกอบสร้างรูปแบบวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน ด้านรูปแบบคำประพันธ์ พบว่า วจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน ส่วนใหญ่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายยาว มีจำนวนบทและวรรคที่ไม่แน่นอน พบจังหวะใน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบจังหวะตายตัว และรูปแบบจังหวะไม่ตายตัว สัมผัส พบ 2 ลักษณะ คือ สัมผัสในและสัมผัสนอก สัมผัสใน พบ 2 ลักษณะ คือ สัมผัสสระ และสัมผัสพยัญชนะ สัมผัสนอก พบ 3 ลักษณะด้านโครงสร้างภาษา พบการประกอบสร้างเนื้อหา 4 ลักษณะ คือ การเริ่มต้น พบว่า มีรูปแบบที่ไม่แน่นอนตายตัว พบการใช้คำเริ่มต้น 5 ลักษณะ การลงท้าย พบ 4 ลักษณะ การแสดงหัวเรื่อง พบ 5 ลักษณะ การเปลี่ยนหัวเรื่อง พบ 4 ลักษณะ การแสดงเนื้อหาเก่า พบ 3 ลักษณะ การแสดงเนื้อหาใหม่ พบ 6 ลักษณะ การเชื่อมโยงความ พบ 4 ลักษณะ คือ การอ้างถึง การละ การใช้คำเชื่อมสัมพันธสารและการใช้คำศัพท์ การอ้างถึง พบการใช้ 4 ลักษณะ การละ พบว่า ในวจนะมงคลพื้นถิ่นอีสานมีการใช้การละ เพื่อช่วยให้เนื้อความกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ การใช้คำเชื่อมสัมพันธสาร พบ 5 ลักษณะ และการใช้คำศัพท์ พบว่า วจนะมงคลพื้นถิ่นอีสานมีการใช้คำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกันเพื่อใช้ในการเชื่อมโยงความ 2) การประกอบสร้างวรรณศิลป์ในวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน พบกลวิธีการใช้ภาษา 11 ลักษณะ คือ การใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นอีสาน, การใช้คำศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤต, การใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, การใช้คำบุรุษสรรพนาม, การใช้คำวิเศษณ์, การใช้คำซ้อน, การใช้คำซ้ำ, การซ้ำคำ, การใช้คำย่อ, การใช้คำไวพจน์, และการใช้คำศัพท์แสลง ในด้านกลวิธีการใช้เสียงสัมผัส พบว่า มีการใช้ 3 ลักษณะ คือ เสียงสัมผัสสระ เสียงสัมผัสพยัญชนะ และเสียงสัมผัสวรรณยุกต์ เสียงสัมผัสสระ พบการใช้ 2 ลักษณะ คือ เสียงสัมผัสสระระหว่างวรรค และเสียงสัมผัสสระในวรรค โดยเสียงสัมผัสสระในวรรค พบการใช้ 6 รูปแบบ เสียงสัมผัสพยัญชนะ พบการใช้ 7 รูปแบบ ส่วนเสียงสัมผัสวรรณยุกต์ พบเพียง 1 สำนวน เท่านั้น ส่วนกลวิธีการใช้โวหารภาพพจน์ พบว่า วจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานมีการใช้โวหารภาพพจน์ 8 ประเภท คือ อุปมาโวหาร อุปลักษณ์โวหาร นามนัยบุคลาธิษฐาน อธิพจน์ อุปมานิทัศน์โวหาร ลัทพจน์โวหาร และปฏิพากย์โวหาร ผลการศึกษาการประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานในครั้งนี้ จึงมิใช่เป็นเพียงผลการวิเคราะห์ภาษาและลักษณะภาษาเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดเผยอุดมการณ์ที่ฝังแฝงอยู่ในวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานด้วย

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback