Browsing by Author "กิตติกร นามวงค์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการคัดเลือกและพัฒนาเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดสัตว์ที่มีศักยภาพในการปรับตัวเพื่อความสามารถในการพัฒนาเป็นพันธุ์ลูกผสมบนพื้นที่สูง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กิตติกร นามวงค์โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์พัฒนาสายพันธุ์แท้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างพันธุ์ลูกผสม ที่มีศักยภาพและการปรับตัวได้ดีบนพื้นที่สูง จากการใช้เชื้อพันธุกรรม จำนวน 89 สายพันธุ์ คัดเลือกลักษณะทางเกษตรที่ดี จนได้สายพันธุ์แท้ที่ดี จำนวน 12 สายพันธุ์ พบว่า มีลักษณะความแข็งแรงต้นกล้า และระดับความแข็งแรงต้นดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5 ขณะที่วันสลัดละอองเกสร และวันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58 วัน คะแนนการหักล้มอยู่ในระดับแเข็งแรงปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 สำหรับลักษณะทรงต้นและตำแหน่งฝัก มีความสม่ำเสมอปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3 จากนั้นทำการผสมระหว่างสายพันธุ์ เพื่อสร้างลูกผสมเบื้องต้น และทำการปลูกทดสอบผลผลิตในปลายฤดูฝน (2014L) พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPFC14 ให้มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 2,422 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ P4199 เท่ากับ 2,124 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับต้นฤดูฝน (2015E) ทำการคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ จำนวน 5 คู่ผสมจากปลายฤดูฝน (2014L) ปลูกทดสอบผลผลิตเบื้องต้น พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPFC11 ให้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,804 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ P4546 ให้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าเท่ากับ 1,966 กิโลกรัมต่อไร่ จึงทำการสร้างพันธุ์ลูกผสมใหม่ 2 วิธี คือ Topcross และ Diallel cross ทำการปลูกทดสอบในฤดูแล้ง (2016D) พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPF04 x Ki48 ให้มีคำเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 2,207 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ DK8868 ให้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2,013 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับการทดสอบหาค่าสมรรถนะการรวมตัวทั่วไป วิธีการ Topcross พบว่า สายพันธุ์ UPF22 ให้ค่าสูงที่สุด ขณะที่วิธีการ Diallel cross พบว่า สายพันธุ์ UPFO7 มีค่าสูงที่สุด ในส่วนของค่าสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะ วิธีการ Topcross พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPF02 x Ki60 ให้ค่าสูงสุด และวิธีการ Diallel cross พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPF07 x UPF02 ให้ค่าสูงสุด