Browsing by Author "กวิน นามุนทา"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat เพื่อการสำรวจเส้นทางการเดินป่า เขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง (จังหวัดพะเยา) เส้นทางหมายเลข 1-3(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กฤษณ รัตนปัญญา; กวิน นามุนทาการศึกษาการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat เพื่อการสำรวจธรรมชาติบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยหลวง จังหวัดพะเยา ในเส้นทางหมายเลข 1, 2 และ 3 ซึ่งเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและพรรณพืช โดยแบ่งการศึกษาข้อมูลออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, การศึกษาด้านอนุกรมวิธาน, การวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลทางดาวเทียม Landsat ด้วยโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ArcGIS 10.3 และการออกแบบทางภูมิทัศน์และสถานจำลองสำคัญ ด้วยโปรแกรม Google SketchUp จากการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แบ่งเป็นเส้นทางหมายเลข 1, 2 และ 3 มีระยะทางรวม 9.49, 5.57 และ 4.18 กิโลเมตร ตามลำดับ นอกจากพันธุ์พืชแล้ว บนเส้นทางการเดินศึกษาธรรมชาตินี้ยังพบแหล่งน้ำธรรมชาติ, พื้นที่ลาดชัน และพื้นที่อยู่อาศัยของทาก การศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานของพืชบางชนิดในเส้นทางสามารถจัดจำแนกได้ 17 วงศ์ 34 สกุล และ 50 ชนิด โดยแบ่งเป็น เฟิร์น จำนวน 14 วงศ์ 30 สกุล 36 ชนิด มีการกระจายตัวในช่วงระดับความสูง 400 เมตร ถึง 1,638 เมตร ส่วนใหญ่เป็นเฟิร์นในวงศ์ Polypodiaceae และ Parkeriaceae , พบพืชวงศ์ก่อ จำนวน 2 สกุล 11 ชนิด มีการกระจายตัวในช่วงระดับความสูง 922 เมตร ถึง 1,401 เมตร สกุลที่พบ ได้แก่ Castanopsis และ Lithocarpus, พืชวงศ์สน ที่พบได้แก่ Pinus kesiya Royle ex Gordon และ Pinus merkusii Jungh. & de Vriese มีการกระจายตัวในช่วงระดับความสูง 900 เมตร ถึง 1,400 เมตร และพบพืชพวกปรง (Cycas sp.) มีการกระจายตัวในช่วงระดับความสูง 1,100 เมตร ถึง 1,300 เมตร ด้านการศึกษาข้อมูลจากฐานข้อมูลทางดาวเทียม โดยมีการวิเคราะห์ค่าดัชนีพืชพรรณ (NDVI) เพื่อศึกษาความหนาแน่นพื้นที่ป่าไม้ จากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 7 ปี พ.ศ. 2546 และ Landsat 8 ปี พ.ศ.2559 พบว่า ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 7 แสดงสัดส่วนพื้นที่ป่าไม้แบบหนาแน่นมากที่สุด 23%, แบบหนาแน่นมาก 32%, แบบหนาแน่นปานกลาง 27%, แบบหนาแน่นน้อย 14% และแบบหนาแน่นน้อยที่สุด 4% สำหรับข้อมูลจากดาวเทียม Landsat 8 นั้น พบพื้นที่ป่าไม้แบบหนาแน่นมากที่สุด 13%, แบบหนาแน่นมาก 22%, แบบหนาแน่นปานกลาง 26%, แบบหนาแน่นน้อย 25% และแบบหนาแน่นน้อยที่สุด 14% นอกจากนี้ทางผู้วิจัยยังได้ออกแบบสถานที่จำลองเพื่อตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศซึ่งมี สถานีตรวจวัดอากาศ (ชุดเครื่องวัดทิศทางและความเร็วลม, เครื่องวัดอุณหภูมิ และเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแบบแก้วตวง), พื้นที่ให้ความรู้ทางพฤกษศาสตร์และข้อมูลสำคัญ ซึ่งมีลักษณะเป็นป้ายความรู้ โดยด้านหน้าของป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่นั้น ๆ เช่น สันหมูแม่ด้อง, ทุ่งเด่นสะแกง, บันไดก่ายฟ้า และยอดดอยหลวง เป็นต้น ในส่วนด้านหลังของป้ายให้ความรู้ จะแสดงตำแหน่งที่นักท่องเที่ยวหรือนักศึกษาธรรมชาติยืนอยู่ และแสดงพื้นที่พักแรมที่กางเต็นท์ และอาคารอเนกประสงค์ที่มีพื้นที่ใช้ซอยภายในประมาณ 27.75 ตารางเมตร