Browsing by Author "กมลทิพย์ สอนศิริ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemสภาพการเลี้ยงการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และคุณภาพซากของการผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพในจังหวัดพะเยาและแพร่(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) กมลทิพย์ สอนศิริการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการเลี้ยง การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และคุณภาพซากของการผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพในจังหวัดพะเยาและแพร่ การศึกษาที่ 1 ทำการศึกษาข้อมูลสภาพการเลี้ยงโคขุนคุณภาพดี จากฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้จังหวัดพะเยา จำนวน 34 ราย และสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อคุณภาพดีจังหวัดแพร่ จำนวน 30 ราย พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 51-60 ปี โดยพันธุ์โคขุนที่นำมาเลี้ยง คือ โคลูกผสมชาร์โรเลส์ และโคลูกผสมแองกัส และใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงเฉลี่ย 12 เดือน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า จุดแข็ง คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนมีการรวมกลุ่มกัน จุดอ่อน คือ เกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุมากอาจมีข้อจำกัดในเรื่องการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ โอกาส คือ เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ฯ ทำให้ได้รับการสนับสนุนการจัดหาแหล่งเงินทุน และการบริการวิชาการจากภาครัฐ อุปสรรค คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนเป็นรายใหม่ยังขาดประสบการณ์ด้านการปรับปรุงพันธุ์ การจัดการฟาร์ม และการตลาดการศึกษาที่ 2 ข้อมูลการชำแหละและการตัดแต่งซากได้จากสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้จังหวัดพะเยา และสหกรณ์โคเนื้อคุณภาพดีจังหวัดแพร่ จำนวน 185 ตัว และโคขุนลูกผสมแองกัส จำนวน 72 ตัว ผลการศึกษาด้านสมรรถภาพการผลิต พบว่า โคขุนลูกผสมชาร์โรเลส์และแองกัสมีน้ำหนักมีชีวิตสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 700.66±94.99 และ 596.33±95.93 กิโลกรัม อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 0.60±0.29 และ 0.60±0.27 กิโลกรัมต่อวัน ตามลำดับ อย่างไรก็ตามโคขุนลูกผสมชาร์โรเลส์จะมีน้ำหนักมีชีวิตสุดท้ายสูงกว่า แต่อัตราการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน สำหรับคุณภาพซากมีน้ำหนักซากอุ่นเฉลี่ย 383.79±57.93 และ 335.86±56.50 กิโลกรัม และคะแนนไขมันแทรก เฉลี่ย 3.21±0.39 และ 2.00±1.09 คะแนน สรุปได้ว่าโคขุนลูกผสมชาร์โรเลส์มีรายได้จากการขายซากโคมากกว่าการศึกษาที่ 3 การศึกษาคุณภาพเนื้อโคขุนลูกผสมชาร์โรเลส์ โดยสุ่มเก็บจากกลุ่มสมาชิกสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้จังหวัดพะเยา และโคขุนลูกผสมแองกัสจากกลุ่มสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อคุณภาพดีจังหวัดแพร่ โดยทำการสุ่มกลุ่มละ 4 ตัว ผลการศึกษาพบว่า โคขุนลูกผสมชาร์โรเลส์มีค่าแรงตัดผ่านของเนื้อเฉลี่ย 74.97±12.43 นิวตัน สูงกว่าโคขุนลูกผสมแองกัส 47.86±6.41 นิวตัน (P<0.05) โคขุนลูกผสมแองกัสและโคขุนลูกผสมชาร์โรเลส์มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนเฉลี่ย 24.30±1.12 และ 22.06±2.24 ตามลำดับ สรุปได้ว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนในพื้นที่จังหวัดพะเยาและแพร่สามารถใช้เป็นข้อมูล สำหรับการตัดสินใจในการเลือกพันธุ์โคเนื้อลูกผสมที่จะนำมาเลี้ยงขุนให้เหมาะสมกับพื้นที่ในจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ได้