งานวิจัย (Research)
Permanent URI for this community
Browse
Browsing งานวิจัย (Research) by Author "ช่อผกา พวงศรี"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Itemการผลิตสไลด์ถาวรของตัวอย่างโปรโตซัวเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) วาสนา เมืองวงค์; ช่อผกา พวงศรีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการทำสไลด์ถาวรของตัวอย่างเชื้อโปรโตซัว Giardia /amblia ระยะ cyst ที่ได้จากโครงการออกตรวจพยาธิ เก็บรักษาสภาพเชื้อไว้ในน้ำยา 10% formain นำมาปรับปริมาณเชื้อเริ่มต้นเท่ากับ 105 cel/m/ ในการหาสภาวะที่เหมาะสมการทำสไลด์ถาวร จากผลการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการทำสไลด์ถาวร คือ การใช้เจลาตินต่อกลีเซอรอล ในอัตราส่วน 90:10 ในการช่วยให้เชื้อเกาะติดสไลด์ และทำการ fixation ด้วย 70% Alcoho จากนั้นทำการย้อมด้วยสี Trichrome ที่มีการปรับปรุงจากสูตร Wheatley 's modification โดยปรับความเข้มข้นของสี ight green เป็นร้อยละ 0.45 ระยะเวลาในการย้อม 15 นาที และล้างสีออกจากเซลล์ด้วย 70% alcohol ที่ผสม acetic เป็นเวลา 1 นาที และดึงน้ำด้วย 70% alcohol, 80% alcohol, 90% alcohol และ absolute alcohol ตามลำดับ จากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะทำให้สามารถผลิตสื่อสไลด์ถาวร เพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับปรสิตวิทยาต่อไป ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีประโยชน์ในแง่ของการนำเชื้อที่เหลือใช้ จากโครงการบริการวิชาการมาใช้ในการเตรียมสไลด์ถาวร ซึ่งเป็นสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่ง ส่งผลให้ลดรายจ่ายในการซื้อสไลด์ถาวรและเป็นการใช้สิ่งเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์
- Itemการหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมสไลด์ถาวรจากระยะตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ในโฮสต์กึ่งกลางหอย Lymnaea spp(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ช่อผกา พวงศรีงานวิจัยนี้ศึกษาการหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมสไลด์ถาวร จากระยะตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ในโฮสต์กึ่งกลางหอย Lymnaea spp. นอกจากนี้ตรวจหาตัวอ่อนระยะ Cercaria ของกลุ่มหนอนพยาธิใบไม้โดยใช้วิธี Cercaria shedding โดยทำการสุ่มและเก็บหอย Lymnaea spp. ด้วยวิธี count per unit of time ได้ทั้งหมด 655 ตัว ณ บริเวณพื้นที่นาข้าวในหมู่บ้านสันกว๊าน หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกที่ติดเชื้อทั้งหมดร้อยละ 0.45 (3/655) โดยสามารถจำแนกลักษณะทางสัณฐานวิทยาของตัวอ่อนพยาธิระยะ Cercaria เป็น 2 ชนิด คือ Gymnocepharous cercariae และ Furcocercous cercariae คิดเป็นอัตราความชุกของหอยที่ติดเชื้อร้อยละ 0.15 (1/655) และ 0.31 (2/655) ตามลำดับ นอกจากนี้สามารถเก็บพยาธิตัวอ่อนระยะ Redia ได้อีกด้วย การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำสื่อสไลด์ถาวรตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะ Cercaria และระยะ Redia พบว่า การติดสไลด์ที่ไม่ใช้ไข่ขาว ย้อมด้วยสี Ehrlich's hematoxylin (1:10) ระยะเวลา 5 นาทีและขั้นตอนการตึงน้ำด้วย 70% alcohol 80% alcohol 90% alcohol และ absolute alcohol ตามลำดับ เป็นสภาวะที่เหมาะสมกับการทำสื่อสไลด์ถาวร งานวิจัยนี้สามารถผลิตสื่อสไลด์ถาวรตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ เพื่อใช้สาธิตตั้งกล้องจุลทรรศน์ในรายวิชาทางด้านปรสิตวิทยาต่อไป