วิทยานิพนธ์นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา (Thesis of Graduate Students)
Permanent URI for this community
Browse
Browsing วิทยานิพนธ์นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา (Thesis of Graduate Students) by Author "กมลลักษณ์ วิชาเร็ว"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลของวิธีการสกัดต่อสมบัติทางเคมีกายภาพและสมบัติเชิงหน้าที่ของเส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) กมลลักษณ์ วิชาเร็วอุตสาหกรรมแปรรูปหน่อไม้สร้างเศษเหลือจากการตัดแต่งประมาณร้อยละ 50 ของหน่อไม้ทั้งหมดที่นำมาแปรรูป งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาผลของวิธีการและสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือส่วนฐาน และปลายยอดต่อสมบัติทางเคมีกายภาพและสมบัติเชิงหน้าที่ของเส้นใยอาหาร จากการศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการผลิตหน่อไม้ผงจากหน่อไม้เศษเหลือ พบว่า หน่อไม้ผงจากหน่อไม้เศษเหลือส่วนฐานที่ได้จากการย่อยด้วยเอนไซม์อะไมเลสและโปรตีเอส (BSP-EN) ทำให้ได้ปริมาณของเส้นใยอาหารทั้งหมด (ร้อยละ 79.05) เส้นใยอาหารที่ละลายน้ำ (ร้อยละ 34.72) ความสามารถในการอุ้มน้ำ (15.08 กรัมต่อกรัม) และการพองตัว (7.23 มิลลิลิตรต่อกรัม) สูงสุด ตามลำดับ เมื่อศึกษาชนิดและลำดับของเอนไซม์ที่เหมาะสมในการผลิตเส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือ พบว่า เส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือส่วนฐานที่ผลิตได้จากกรรมวิธีการย่อยด้วยเอนไซม์อะไมเลส กลูโคอะไมเลส โปรตีเอส และไลเปส (AGP-L) ทำให้ได้ปริมาณเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำ (ร้อยละ 5.33) ความสามารถในการอุ้มน้ำ (10.46 กรัมต่อกรัม) และการพองตัว (8.71 มิลลิลิตรต่อกรัม) มากที่สุด ขณะที่เส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือส่วนปลายยอดที่ผลิตได้จากกรรมวิธีการย่อยด้วยเอนไซม์อะไมเลส โปรตีเอส ไลเปส และกลูโคอะไมเลส (APL-G) ทำให้ได้ปริมาณเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำ (ร้อยละ 7.20) ความสามารถในการอุ้มน้ำ (14.06 กรัมต่อกรัม) และการพองตัว (11.89 มิลลิลิตรต่อกรัม) สูงสุด เมื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือส่วนฐาน และปลายยอดด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง พบว่า ความเข้มข้น และระยะเวลาในการสกัดของเอนไซม์ไลเปสมีผลต่อปริมาณผลผลิตทั้งหมดที่สกัดได้ และความสามารถในการอุ้มน้ำของเส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือส่วนฐาน โดยสภาวะที่เหมาะสมในการสกัด คือ ปริมาณของเอนไซม์ไลเปสที่ความเข้มข้น 3 ยูนิตต่อกรัม และระยะเวลาในการสกัด 39.61 นาที ทำให้ได้ปริมาณผลผลิตทั้งหมดที่สกัดได้ ร้อยละ 13.51 และความสามารถในการอุ้มน้ำ 10.21 กรัมต่อกรัม ดังนั้น กรรมวิธี AGP-L และ APL-G มีความเหมาะสมในการนำไปพัฒนากระบวนการผลิตเส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือส่วนฐานและปลายยอดในการศึกษาต่อไป