University of Phayao

Digital Collections

ฐานข้อมูลคลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา จัดทำโดยศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บและเผยแพร่ผลงานของคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต ของมหาวิทยาลัยพะเยา

นโยบายการรับผลงานการรับผลงานเข้าสู่ฐานข้อมูลคลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา จะคัดเลือกรับผลงานประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • Theses วิทยานิพนธ์
  • Dissertations ดุษฎีนิพนธ์
  • Independent Study รายงานการค้นคว้าอิสระ
  • Technical Report รายงานการวิจัย
  • Journal Paper บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในบทความวารสาร
  • Bachelor’s Project ปัญหาพิเศษนักศึกษาปริญญาตรี
  • Patents สิทธิบัตร
  • Local Information Phayao Province ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดพะเยา
  • University of Phayao Archives จดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพะเยา

ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือส่งผลงานได้ที่ UPDC Support.

Photo by @inspiredimages
 

Recent Submissions

Item
ผลของพฤติกรรมไม่ปลอดภัยในการใช้สารเคมีเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กัญญาวีร์ มีแสง
ผลของพฤติกรรมไม่ปลอดภัยในการใช้สารเคมีเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ชุมชนบ้านโช้ ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ทำการวิจัยกึ่งการทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด 145 คน ผลการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบมีโครงสร้าง พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (67.58%) ช่วงอายุเฉลี่ย 50-59 ปี ปลูกข้าวโพดปีละ 3 รอบ ผลผลิตเฉลี่ย 300-6000 กิโลกรัมต่อไร่ ได้ปัจจัยการผลิตจากพ่อค้าคนกลาง สารเคมีเกษตรที่ใช้ ได้แก่ ปุ๋ย 46-6-6 (66.90%) สารควบคุมโรคพืชออติวา (48.28%) สารควบคุมแมลงไซเปอร์เมทริน 10% (72.76%) สารกำจัดวัชพืชด้วยกรัมม็อกโซน (47.59%) และไกลโฟเซต (35.17%) ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ถูกห้ามใช้ใน 32 ประเทศ เนื่องจากมีการตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม เป็นสารก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ก่อมะเร็ง และเป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ พฤติกรรมไม่ปลอดภัยของเกษตรกร คือ ไม่สวมใส่ชุดและอุปกรณ์ป้องกันสารเคมี (85.72%) สูบบุหรี่ขณะใช้สารเคมีเกษตร (23.36%) ล้างภาชนะอุปกรณ์ที่ปนเปื้อนสารเคมีเกษตรลงในแหล่งน้ำสาธารณะ (33.87%) อาการที่พบหลังรับสัมผัสสารเคมีเกษตรส่วนใหญ่ปวดศีรษะ (94.48%) สำหรับอาการกึ่งเรื้อรังที่พบในระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ระบบอาหาร ได้แก่ หายใจติดขัด (14.48%) ผืนแพ้ (21.38%) และอาเจียน (13%) ผลการทดสอบสารเคมีเกษตรตกค้างในดิน น้ำ และพืช ด้วย GT-Test kit พบว่า บริเวณต้นน้ำห้วยน้ำโช้มีสารเคมีเกษตรตกค้างในดิน น้ำ และพืชในระดับที่ไม่ปลอดภัย บริเวณต้นน้ำห้วยน้ำขาว และกลางน้ำห้วยน้ำขาว พบสารเคมีตกค้างในดินและพืชในระดับที่ไม่ปลอดภัย ผลการศึกษาได้นำมาจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยสารเคมีเกษตรในชุมชนและเสนอแนวทางเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีเกษตรของเกษตรกรเพื่อลดการปนเปื้อนสู่ร่างกายและสิ่งแวดล้อมต่อไป
Item
ลักษณะสัณฐานวิทยาและเนื้อเยื่อวิทยาของต่อมไฮโปฟาริงจ์และต่อมแมนดิบูลาร์ในหัวของชันโรง 5 สกุล (Homotrigona, Lepidotrigona, Tetrigona, Tetragonilla และ Tetragonula)
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ณัชชา สาแก่งทราย; สิริยาภรณ์ ใจสม; สุภาริณี พูลเกษม
ชันโรงและผึ้งรวงมีต่อมหลั่งสารสู่ภายนอกในส่วนหัว ได้แก่ ต่อมไฮโปฟาริงจ์ และต่อมแมนดิบูลาร์ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของแมลงสังคม การศึกษานี้ทำการตรวจสอบโครงสร้างในหัวของชันโรง 5 สกุล (Homotrigona, Lepidotrigona, Tetrigona, Tetragonilla และTetragonula) กับผึ้งรวง 4 ชนิด (Apis cerana, A.dorsata, A. florea และ A. mellifera) วัตถุประสงค์ในครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยา เนื้อเยื่อวิทยา และการวัดขนาดทางสัณฐานวิทยาของต่อมทั้งสอง รวมทั้งประยุกต์ใช้เทคนิคทางชีววิทยาสำหรับการผ่าตัดส่วนหัวของผึ้ง ผลการศึกษาต่อมแสดงให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกันของโครงสร้างพื้นฐานของต่อมไฮโปฟาริงจ์ในผึ้งที่ศึกษาทั้งหมด โดยประกอบด้วยเซลล์ต่อมขนาดเล็ก (acini) จำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปทรงกลมต่อเป็นสายยาว แต่ละ acini มีท่อขนาดเล็กยื่นออกมาจากเซลล์เพื่อเชื่อมติดกับท่อแกนหลัก ภายในเนื้อเยื่อพบเซลล์คัดหลั่งแบบ Class III ที่มีความแตกต่างของโครงสร้าง และการจัดเรียงเซลล์ระหว่างชันโรงและผึ้งรวง ในส่วนของต่อมแมนดิบูลาร์ ประกอบด้วย 2 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1 ต่อม Ectomandibular จะมีถุงเก็บสารที่เชื่อมต่อกับฐานของฟันกราม พบกลุ่มเซลล์คัดหลั่งแบบ Class III ภายในเนื้อเยื่อ ประเภทที่ 2 ต่อม Intramandibular จะพบเซลล์คัดหลั่งในช่องว่างของฟันกราม ซึ่งมีเซลล์คัดหลั่งแบบ Class I และ Class III แตกต่างกัน มากกว่านี้ การวิเคราะห์การวัดสัณฐานของต่อมทั้งสอง บ่งชี้ว่าขนาดสัณฐานของแต่ละต่อมไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดลำตัวของชันโรง แต่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ต่อการแสดงออกของพฤติกรรม หรือกิจกรรมภายในรังที่ตอบสนองต่อการดำรงชีวิตของชันโรงและผึ้งรวง นอกจากนี้การพัฒนาเทคนิคทางชีววิทยาสำหรับการศึกษาสัณฐานวิทยา และเนื้อเยื่อวิทยาของต่อมทั้งสองในส่วนหัว โดยแนะนำให้ใช้สารรักษาสภาพ Davidson’s fixative การปรับปรุงขั้นตอนและเวลาของการขจัดน้ำออกจากเซลล์และการย้อมสีเนื้อเยื่อซึ่งประยุกต์ใช้ในการศึกษาผึ้งหรือแมลงอื่น ๆ ได้ต่อไป
Item
ไม้ดอกไม้ประดับในการจัดออกแบบสวนและภูมิทัศน์ในมหาวิทยาลัยพะเยา ปี พ.ศ. 2561-2562
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) กัญญาณี บัวลอย; สุดารัตน์ จันทรเสนา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบจำนวนการใช้ไม้ดอก ไม้ประดับที่แตกต่างกันในปี 2561 และ 2562 2) เปรียบเทียบจำนวนและชนิดการใช้ไม้ดอก ไม้ประดับในปี 2561 และ 2562 ในจุดที่มีการปรับแต่งภูมิทัศน์ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับชนิดพืช จำนวน วิธีการ และสถานที่ และเป็นการจัดระบบการจัดการไม้ดอก ไม้ประดับ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า และเป็นระบบมากขึ้น พบว่า จำนวนการใช้ไม้ดอก ไม้ประดับที่ใน ปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนการนำไม้ดอก ไม้ประดับไปใช้จัดสวนในมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 261,965 ต้น และปี พ.ศ. 2562 มีจำนวน 231,975 ต้น ซึ่ง ปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนการนำไม้ดอก ไม้ประดับไปใช้มากกว่า ปี พ.ศ. 2562 จำนวน 29,990 ต้น จำนวนและชนิดการใช้ไม้ดอก ไม้ประดับในปี 2561 และ 2562 ในจุดที่มีการปรับแต่งภูมิทัศน์ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยพะเยาทั้ง 4 จุด โดยจุดที่ 1 (บริเวณป้ายหน้ามอมหาวิทยาลัยพะเยาถึงลานสมเด็จพระนเรศวร) จุดที่ 2 (บริเวณวงเวียนหน้าถนนคณะวิศวกรรมศาสตร์ถึงหอประชุมพญางำเมือง) จุดที่ 3 (บริเวณหน้าตึกอธิการบดีถึงวงเวียนหน้าตึกอธิการบดี) และจุดที่ 4 (บริเวณพื้นที่ทั่วไปที่ใช้ไม้ดอก ไม้ประดับทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยพะเยา) จากการสำรวจพบว่า ในปี 2561 จุดที่ 4 (69 ชนิด) 2 (53 ชนิด) 3 (23 ชนิด) และ 1 (16 ชนิด) มีความหลากหลายของการใช้ชนิด ของต้นไม้ประดับสูงสุดและลดลงถึงต่ำสุด ตามลำดับ ส่วนจำนวนต้นไม้ พบว่า จุด 2 (139,873 ต้น) 4 (63,925 ต้น) 3 (32,382 ต้น) และ 1 (17,561 ต้น) มีการใช้ต้นไม้ประดับในจำนวนที่มากที่สุด และลดลงถึงน้อยที่สุด ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับปี 2562 โดยชนิดของพันธุ์ไม้ที่ใช้เรียงจากมากไปน้อย คือ จุดที่ 4 (79 ชนิด) 2 (56 ชนิด) 3 (23 ชนิด) และ 1 (17 ชนิด) และปริมาณที่ใช้จุด 2 (125,839 ต้น) 4 (65,442 ต้น) 3 (23,133 ต้น) และ 1 (17,561 ต้น) ตามลำดับ ไม้ประดับที่มีจำนวนการใช้สูง ได้แก่ ชาฮกเกี้ยน (Carmona retusa (Vahl) Masam.) พิทูเนีย (Petunia Hybrida) ดาวกระจาย (Cosmos sulphureus Cav.) หูปลาช่อน (Acalypha wilkesiana Mull. Arg ) ถั่วบราซิล (Arachis pintoi) ดาวเรือง (Tagetes erecta L. ) สร้อยไก่ (Celosia argentea L. cv. Plumosa) ซัลเวียเลดี้ (Salvia spp.) ทานตะวัน (Helianthus annuus L.) และบานไม่รู้โรย (Gomphrena globosa L.) ข้อมูลของเราจะสามารถช่วยในการเตรียมการ และปรับปรุงระบบการใช้ไม้ดอก ไม้ประดับในการตกแต่งภูมิทัศน์ และการลดค่าใช้จ่ายและเวลา เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการคาดการณ์ในจำนวน และชนิดของพืชที่จะใช้ในปีถัดไป
Item
การศึกษาผลของไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre)
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ชนิกานต์ ยิ่งแสนตุ้ย; ขนิษฐา ลือชา; เนตรนภา วงศรีรักษ์
การศึกษาปัจจัยเชื้อราไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทางกายภาพ ธาตุอาหารในดินต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่าและศึกษาปัจจัยทางชีวภาพ จากผลของกลุ่มเชื้อราไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า ทำการศึกษาโดย สำรวจผักหวานป่าในพื้นที่ของป่าเต็งรัง ในหมู่บ้านปิน ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ศึกษาชนิดดินปลูกที่มีผลต่ออัตราการงอกของเมล็ดผักหวานป่า ศึกษาผลการใช้เชื้อไมคอร์ไรซาจากเชื้อเห็ดเผาะ และเห็ดตับเต่า ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า และวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน ได้แก่ ค่าไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเจริญเติบโตของเมล็ดผักหวานป่าในวัสดุปลูกที่แตกต่างกัน ผักหวานป่าจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด ในดินลูกรังผสมทรายมีอัตราการงอกสูงสุด (100%) (ความสูงเฉลี่ย 93.48±26.84 มิลลิเมตร) การศึกษาผลของไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า พบว่า กลุ่มที่ใส่เชื้อเห็ดตับเต่ามีความสูงของลำต้น เฉลี่ยสูงสุด (8.68±3.81 เซนติเมตร) ผักหวานป่าที่ใส่เชื้อเห็ดเผาะ และมีใบมากขึ้นมากที่สุด (9.16±1.17 ใบ) และจากการจำแนกชนิดของเชื้อราในดินบริเวณรากต้นผักหวานป่า พบเชื้อราไมคอร์ไรซา จำนวน 9 ชนิด สามารถจำแนกได้ 4 ชนิด คือ Aspergillus spp., Paecilomyces lilacinus, Fusarium spp. และ Nigrospora sphaerica (Sacc.) Mason
Item
การเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ภายใต้การเสริมไคทินผงจากเปลือกกุ้งทะเลระหว่างการให้น้ำแบบจำกัด
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ลักษิกา สว่างยิ่ง; ลัคนา ไชยเนตร
จากการทดลองปลูกข้าวพันธุ์ก่ำเมืองพะเยา ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวสังข์หยดพัทลุง และข้าวไรซ์เบอร์รี่ แบบอินทรีย์ด้วยปุ๋ยมูลค้างคาว และปุ๋ยสะเดา ภายใต้การปลูกแบบเปียกสลับแห้งเป็นระยะเวลา 5 เดือน (ให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) พบว่า กล้าข้าวทั้งสี่พันธุ์ (อายุ 30 วัน) มีการสร้างรวงเมื่ออายุหลังการย้ายปลูกครบ 96 และเมล็ดข้าวโตเต็มที่เมื่ออายุต้นข้าวครบ 129 หลังการย้ายปลูก ภายหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวแต่ละชนิดในแปลงทดลอง พบว่า เมล็ดข้าวพันธุ์ก่ำเมืองพะเยา ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวสังข์หยดพัทลุง และข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีน้ำหนักของเมล็ดที่มากกว่าเมล็ดข้าวที่ใช้ในการเริ่มต้นการเพาะปลูก จำนวน 5.14, 4.89, 5.20 และ 4.58 เท่า ตามลำดับ เมื่อทำการทดสอบการงอกของเมล็ดข้าวที่ได้จากแปลงทดลองสาธิต พบว่า เมล็ดข้าวทั้งสี่พันธุ์มีการงอกที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) เมล็ดข้าวไรซ์เบอรี่ที่เมล็ดมีการงอกจำนวนมาก ได้นำมาปลูกทดลองด้วยการเสริมด้วยไคทินผงจากเปลือกกุ้งทะเล พบว่า การปลูกแบบจำกัดน้ำ 50% และเสริมด้วยไคทินผงจากเปลือกกุ้งทะเล จะทำให้ความสูงของต้น จำนวนใบ และจำนวนกอมีมากกว่า ชุดการทดลองควบคุม