Browsing by Author "โชคฑีรภัคญ์ ธนเศรษฐวัฒนา"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemนวัตกรรมแก้ปัญหาการออกเสียงภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษากลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในจังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) โชคฑีรภัคญ์ ธนเศรษฐวัฒนาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์และจำแนกเสียงภาษาไทยที่เป็นปัญหาในการออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษากลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในจังหวัดเชียงราย 2) สร้างและหาประสิทธิภาพนวัตกรรมบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ใช้ในการศึกษาเสียงในภาษาไทยที่เป็นปัญหา ได้แก่ นักเรียนชั้น ป. 1-3 กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในจังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2558 จำนวน 125 คน และกลุ่มที่ใช้ในการทดลองนวัตกรรม ได้แก่ นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ชั้น ป. 1-3 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือในการวิเคราะห์และจำแนกเสียงในภาษาไทยที่เป็นปัญหา 2) เครื่องมือในการสร้างและประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรม และ 3) เครื่องมือในการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรมสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1 เสียงในภาษาไทยที่เป็นปัญหาในการออกเสียงของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ได้แก่ เสียงพยัญชนะต้น ได้แก่ เสียง /s/, /r/, /l/ เสียงพยัญชนะท้าย ได้แก่ /m/,/n/,/d/,/y/,/w/, /j/ ,/p/,/t/ ,/k/,/y/,/b/ เสียงพยัญชนะควบกล้ำ ได้แก่ /pr/,/pl/,/phr/,/phl/,/kr/,/kl/,/kw/,/khw/,/tr/ เสียงสระเดี่ยว ได้แก่ /u/,/uu/,/i/, /ii/, /ao/,/o : / เสียงสระประสม ได้แก่ /e/, /ua/, /e/, /ia/, /ua/, /o/, /aw/ เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียงจัตวา /t5/ สำหรับเสียงภาษาไทยที่เป็นปัญหาในการฟังออกเสียง ประกอบด้วย เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว ได้แก่ เสียง /r/ เสียงพยัญชนะควบกล้ำ ได้แก่ เสียง /khw. phr/ เสียงพยัญชนะท้าย ได้แก่ เสียง /t,J / เสียงสระ ได้แก่ เสียง /i, i:/ และเสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง /t1,/t2/,/t3/,/t4/,/t5/ 2) ประสิทธิภาพนวัตกรรมบทเรียนตอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน รวมทั้งหมด 263 คะแนน ส่วนประสิทธิภาพของนวัตกรรม E, และ E2 พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.92/80.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 นอกจากนี้ ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนกับหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เท่ากับ 16.17 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียน คือ 5.48 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 25 ส่วนความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.52)