Browsing by Author "เปรมฤดี ศรีวิชัย"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพอาจารย์พยาบาล เพื่อความยั่งยืนของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) เปรมฤดี ศรีวิชัยการวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพของอาจารย์พยาบาล เพื่อความยั่งยืนของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการศึกษาประสิทธิภาพอาจารย์พยาบาลที่ส่งผลต่อความยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างาน และอาจารย์ระดับปฏิบัติ จำนวน 272 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพอาจารย์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และศึกษาดูงานหน่วยงานที่เป็น Best Practice จำนวน 2 แห่ง โดยใช้แบบบันทึกรายการและแบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 การสร้างรูปแบบและการตรวจสอบความเหมาะสมของร่างรูปแบบ โดยการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างาน และอาจารย์ระดับปฏิบัติ จำนวน 156 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพอาจารย์พยาบาลที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชนก มี 8 ด้าน ได้แก่ ด้านทัศนคติ ด้านสุขภาพ ด้านการสำรวจตนเอง ด้านปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง ด้านการจัดการความรู้ ด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังของบุคลากร และด้านบรรยากาศการทำงานของบุคลากร 2 แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพอาจารย์พยาบาล แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การออกแบบกิจกรรมการพัฒนา การนำแผนกิจกรรมไปปฏิบัติ และการประเมินผลและสะท้อนผลการพัฒนา 3) รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพอาจารย์พยาบาลเพื่อความยั่งยืนของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ ปัจจัยแห่งความสำเร็จองค์ประกอบประสิทธิภาพอาจารย์ แนวทางการพัฒนา และความยั่งยืนของวิทยาลัยการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมาก 4) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก