Browsing by Author "เดชจรูญ เรืองฤทธิ์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพอัดเม็ดจากราเอนโดไฟท์ Trichoderma phayaoense (L1 I3) เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคใบไหม้ในข้าว(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) เดชจรูญ เรืองฤทธิ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพอัดเม็ดจากรา Trichoderma phayaoense (L1 I3) ต่อการเจริญเติบโตและควบคุมโรคใบไหม้ในข้าวในระดับโรงเรือน โดยศึกษาศักยภาพในการผลิตเอนไซม์ย่อยเซลล์ราสาเหตุโรคพืช พบว่า รา T. phayaoense (L1 I3) มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ ไคติเนส เอนไซม์ เซลลูเลส โปรติเอส และ ไฟเตส มีค่า HC value เท่ากับ 0.67, 0.45, 0.40 และ 0.40 ตามลำดับ ในขณะที่การทดสอบประสิทธิภาพของรา T. phayaoense (L1 I3) ในการยับยั้งราสาเหตุโรคใบไหม้ด้วยวิธี dual culture พบว่า สามารถยับยั้งราก่อโรคใบไหม้ ไอโซเลท PY02 ได้มากที่สุดที่ 86.25 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการอยู่รอดของรา T. phayaoense (L1 I3) ต่อการใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราและสารเคมีทางการเกษตรในห้องปฏิบัติการ พบว่า สามารถอยู่รอดในสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เมทาแลกซิล แต่ไม่ทนต่อสารคาร์เบนดาซิม ในขณะที่การศึกษาศักยภาพการกระตุ้นการงอกเมล็ดพันธุ์ข้าวในห้องปฏิบัติการ พบว่า สารแขวนลอย สปอร์รา T. phayaoense (L1 I3) ความเข้มข้น 1.0 x 104 สปอร์ต่อมิลลิลิตร มีผลต่อจำนวนการงอกของเมล็ด ความสูงต้น และความยาวรากมากที่สุด ส่วนการศึกษาผลรา T. phayaoense (L1I3) ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคใบไหม้ในข้าว พบว่า ข้าวที่ใส่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่ใส่สารแขวนลอยสปอร์รา T. phayaoense (L1 I3) ที่ความเข้มข้น 1.0 x 108 สปอร์ต่อมิลลิลิตร สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าว ได้แก่ จำนวนต้น ความสูงต้น และความยาวราก ในข้าวทั้ง 3 พันธุ์ ได้แก่ สังหยดพัทลุง สันป่าตอง และขาวดอกมะลิ 105 ที่อายุ 30, 60 และ 90 วัน อีกทั้งมีความสูงต้น จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ เมล็ดดีต่อรวง เมล็ดลีบต่อรวง เมล็ดทั้งหมดต่อรวง น้ำหนักเมล็ดดีต่อกอ น้ำหนักเมล็ดลีบต่อกอ เมล็ดทั้งหมดต่อกอ อัตราการติดเมล็ด และผลผลิต เท่ากับ 153.47 เซนติเมตร, 19.25 ต้น, 18.58 รวง, 123.00 เมล็ด, 29.08 เมล็ด, 3.77 กรัม, 52.52 กรัม, 3.94 กรัม, 56.46 กรัม, 80.85 เปอร์เซ็นต์ และ 504.23 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนการควบคุมโรคใบไหม้และใบไหม้คอรวงในข้าว พบว่า กรรมวิธีที่ใส่ผลิตภัณฑ์จากรา T. phayaoense (L1 I3) แบบชนิดอัดเม็ดและการฉีดพ่นทางใบ พบว่า มีคะแนนการเกิดโรคที่ 2.25 คะแนน ส่วนการทดสอบการส่งเสริมการเจริญเติบโตและการควบคุมโรคใบไหม้ในข้าวในระดับแปลงเกษตรกร พบว่า กรรมวิธีที่ใส่ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพมีคุณภาพทางกายภาพของผลผลิต คุณภาพทางเคมีของเมล็ด ดีกว่ากรรมวิธีที่ไม่ใส่ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพ