Browsing by Author "เจษฎา ความคุ้นเคย"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Itemปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) เจษฎา ความคุ้นเคยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน และไฟป่าในพื้นที่ตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนในเขตตำบลวังทรายคำ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เก็บแบบสอบถามโดยการสุ่มแบบบังเอิญ ใช้สถิติ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ F-test และข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 51-60 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพเกษตรกร รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 3,000 บาท อาศัยอยู่ในหมู่บ้านมากกว่า 20 ปี การมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับมีส่วนร่วมมาก ได้แก่ มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน มีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ 1) ความพร้อมของชุมชน 2) ความผูกพันต่อชุมชน 3) กรอบนโยบายภาครัฐในการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ทั้งหมดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางข้อมูลทางสถิติที่ 0.01 ค่า F-test เท่ากับ 8.269 ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่หลากหลาย
- Itemแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) เจษฎา ความคุ้นเคยการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินศักยภาพ และวิเคราะห์อัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และรูปแบบการจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นต่อระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทย เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม จากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล จำนวน 400 คน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จำนวน 40 คน และการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) มีเอกลักษณ์ระดับชาติที่นักท่องเที่ยว มีความประทับใจมาก มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกันระหว่างกลุ่ม สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้สะดวก มีความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวสูง หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรท้องถิ่นร่วมกันให้การสนับสนุนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมีอัตลักษณ์ คือ วิถีชีวิตและประเพณีที่เกี่ยวข้องกับสายน้ำและชาติพันธุ์มอญ 2) องค์ประกอบของการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวมีความหลากหลาย สามารถเข้าถึงได้หลายช่องทาง มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบถ้วน ที่พักมีจำนวนเพียงพอ กิจกรรมการท่องเที่ยวเน้นการเที่ยวชมโบราณสถาน และเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน รูปแบบการจัดการด้านการท่องเที่ยว ไม่มีการกำหนดกลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยวที่ชัดเจน 3) นักท่องเที่ยวมีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดอยู่ในระดับมาก 4) แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลด้วยรูปแบบ DEPTH-AIM Model ประกอบด้วย การพัฒนา (Development : D) การมีส่วนร่วม (Engagement : E) จุดยืนของแบรนด์ (Position : P) การทำงานเป็นหมู่คณะ (Team : T) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource : H) การสร้างพันธมิตรระหว่างกลุ่ม (Aliance : A) การสะท้อนอัตลักษณ์ให้ชัดเจน (Identity : I) การตลาดและการส่งเสริมการตลาด (Marketing and Promotion : M)