Browsing by Author "เกรียงศักดิ์ โชคดี"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) เกรียงศักดิ์ โชคดีผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา ตามหลักไตรสิกขากับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา ตามหลักไตรสิกขา กับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเมืองปานวิทยา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จับสลากกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม จำนวน 1 ห้อง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ซึ่งผลการจับสลากปรากฏว่ากลุ่มทดลอง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 30 คน โดยได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนกลุ่มควบคุม คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 30 คน โดยได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ รวมจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1.1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1.2) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 1.3) แบบสอบถามความคิดเห็น 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 2.1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา 2.2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขามีความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Web-Based Instruction: WBI อยู่ในระดับมาก