Browsing by Author "อุบลวรรณ สายทอง"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemศาสตร์พระราชาที่ปรากฏในวรรณกรรมรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร: การศึกษาแนวคิด กลวิธีนำเสนอและคุณค่า(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) อุบลวรรณ สายทองงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดศาสตร์พระราชา 2) ศึกษากลวิธีนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชา และศิลปะการใช้ภาษาด้านจินตภาพ 3) ศึกษาคุณค่าศาสตร์พระราชาที่ปรากฏในวรรณกรรม รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ผู้วิจัยศึกษาจากนวนิยายที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยม จำนวน 9 เรื่อง ได้แก่ ทุ่งมหาราช ไผ่แดง ผู้ใหญ่ลีกับนางมา เขาชื่อกานต์ ลูกอีสาน แผ่นดินนี้ยังรื่นรมย์ ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด บุษบกใบไม้ และบางกะโพ้ง โดยเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาแนวคิดศาสตร์พระราชาที่ปรากฏในวรรณกรรม รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร แบ่งแนวคิดออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารทรัพยากรดิน โดยการบริหารทรัพยากรดินจากสภาพปัญหาดินเปรี้ยว ดินปนทรายให้กลายเป็นดินที่สมบูรณ์สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ 2) ด้านการบริหารทรัพยากรน้ำ จากสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำโดยการขุดสระน้ำกลางหมู่บ้าน และการขุดบ่อน้ำเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำ 3) ด้านการบริหารทรัพยากรป่าไม้ จากสภาพปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่ารวมถึงการเผาทำลายป่าเพื่อทำการเกษตรและการปลูกฝิ่น ได้มีการบริหารทรัพยากรป่าไม้เพื่อการใช้ประโยชน์โดยการปลูกฝังให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในชุมชน ใช้ประโยชน์จากป่าอย่างคุ้มค่า การศึกษากลวิธีนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาที่ปรากฏในวรรณกรรม รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พบว่า 1) กลวิธีการนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาผ่านองค์ประกอบของเรื่อง มี 4 กลวิธี ได้แก่ 1.1) กลวิธีนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ผ่านฉาก 1.2) กลวิธีนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาด้านการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ผ่านตัวละคร 1.3) กลวิธีนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ผ่านบทสนทนา และ 1.4) กลวิธีนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาด้านการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ผ่านการบรรยาย 2) กลวิธีการนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาผ่านการใช้ภาษาเพื่อสร้างจินตภาพ มี 5 ด้าน ได้แก่ 2.1) ด้านการได้ยิน 2.2) ด้านการมองเห็น 2.3) ด้านการได้กลิ่น 2.4) ด้านการรับรส และ 2.5) ด้านการสัมผัส การศึกษาคุณค่าศาสตร์พระราชาที่ปรากฏในวรรณกรรมรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พบว่า มีคุณค่า 10 ประเภท ได้แก่ 1) คุณค่าด้านความเพียร 2) คุณค่าด้านความมีสติ 3) คุณค่าด้านการเกื้อกูล 4) คุณค่าด้านการปฏิบัติหน้าที่ของตน 5) คุณค่าด้านการรักธรรมชาติ 6) คุณค่าด้านรักแผ่นดิน 7) คุณค่าด้านรักศิลปวัฒนธรรม 8) คุณค่าด้านการกินอยู่อย่างพอมีพอกิน 9) คุณค่าด้านมีความบากบั่นวิริยะอดทน 10) คุณค่าด้านการปลูกจิตสำนึกความเป็นธรรมในสังคม นวนิยายทั้ง 9 เรื่อง ได้สะท้อนแนวคิดศาสตร์พระราชาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ทั้งแนวคิดด้านการบริหารทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ อีกทั้งสอดแทรกกลวิธีการนำเสนอแนวคิด และศิลปะการใช้ภาษาด้านจินตภาพผ่านฉาก ตัวละคร บทสนทนา และการบรรยายได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการศึกษาคุณค่าด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริ