Browsing by Author "อำนวย วรญาณกุล"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการพัฒนาเครือข่ายเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาจังหวัดลำปาง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) อำนวย วรญาณกุลการศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาเครือข่ายเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาจังหวัดลำปาง มีจุดมุ่งหมายการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีของจังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาในพื้นที่อุทยานธรณีโลกประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาของจังหวัดลำปาง และ 4) เพื่อพัฒนาแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการเครือข่ายท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาลำปาง เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาของจังหวัดลำปาง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาของจังหวัดลำปาง อุทยานธรณีโลกสตูล โคราชจีโอพาร์ค และนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาในพื้นที่อุทยานธรณีโลกประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินศักยภาพโดยรวมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา แบบสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แบบสอบถามพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว รวมถึงการจัดประชุมกลุ่มย่อยของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาบริบทและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาของจังหวัดลำปาง พบว่า จังหวัดลำปางมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาจำนวนมาก แต่อุทยานธรณีลำปางยังไม่มีการคัดเลือกและจัดลำดับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา และยังขาดความพร้อมในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ทำให้ภาคเอกชน ประชาชนและชุมชนในพื้นที่ขาดการรับรู้รับทราบเกี่ยวกับอุทยานธรณีลำปาง ส่งผลให้ยังไม่มีการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาในจังหวัดลำปาง 2) การศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาในพื้นที่อุทยานธรณีโลกประเทศไทย ในภาพรวมพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีระดับความต้องการมากที่สุดในด้านกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยว รองลงมา คือ ด้านสิ่งดึงดูดใจในแหล่งท่องเที่ยว ความสะดวกในการเดินทาง สิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว ความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว และการบริการที่พักในแหล่งท่องเที่ยว ตามลำดับ 3) การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาของอุทยานธรณีลำปางที่เหมาะสม เป็นรูปแบบผสมระหว่างเครือข่ายรูปแบบดาว (Star network) และเครือข่ายรูปแบบสายการบิน (Hub and spoke network) โดยใช้ตัวแบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative governance model) 4) แผนกลยุทธ์การบริหารจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาลำปาง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาของจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ กลยุทธ์การบริหารจัดการพื้นที่ กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ กลยุทธ์การจัดการองค์กร และกลยุทธ์องค์ประกอบการท่องเที่ยวและความปลอดภัย