Browsing by Author "อารีรัตน์ บุญโย"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการวิเคราะห์หาปริมาณกรดออร์โทคูมาริกและกรดแกลลิกในน้ำผึ้งโดยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตเมตรี(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) อัญญรัตน์ ศีละพงษ์; อารีรัตน์ บุญโยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบเทคนิคที่ง่ายและรวดเร็วสำหรับการวิเคราะห์หาปริมาณกรดออร์โทคูมาริก และกรดแกลลิกในตัวอย่างน้ำผึ้งซึ่งซื้อจากผู้เลี้ยงผึ้งโพรงป่าในท้องถิ่นจังหวัดพะเยา ทำการสกัดตัวอย่างน้ำผึ้งตามด้วยการตรวจวัดโดยเครื่องยูวี-วิสิเบิล สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ ที่ 272 และ 266 นาโนเมตร ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสกัดกรดออร์โทคูมาริกและกรดแกลลิก ได้แก่ ชนิดของตัวทำละลาย ปริมาณตัวทำละลายและเวลาในการปั่นเหวี่ยง ซึ่งการสกัดกรดออร์โทคูมาริก และกรดแกลลิกโดยตัวทำละลายที่แตกต่างกัน 3 ชนิด (เมทานอล เอทานอล และเมทานอล : เอทานอล (1 : 1)) พบว่า เอทานอลเป็นตัวทำละลายที่ดีที่สุดในการสกัด เพื่อหาปริมาณกรดออร์โทคูมาริกและกรดแกลลิก วิธีที่นำเสนอมีช่วงความเป็นเส้นตรงที่ดี (R2 = 0.9980 และ R2 = 0.9962 ) ในช่วงความเข้มข้น 0.05-30.00 และ 0.10-80.00 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ มีความแม่นยำที่ดีโดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์น้อยกว่า 7.3 % ขีดจำกัดการตรวจวัดและขีดจำกัดการตรวจวัดเชิงปริมาณของกรดออร์โทคูมาริกมีค่าเท่ากับ 0.01 และ 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร กรดแกลลิกมีค่าเท่ากับ 0.03 และ 0.10 มิลลิกรัมต่อลิตร ร้อยละการได้กลับคืนที่เติมสารมาตรฐานกรดออร์โทคูมาริกและกรดแกลลิก 5.00 มิลลิกรัมต่อลิตรในตัวอย่าง อยู่ในช่วง 93-96 % และ 82-84% จากงานวิจัยพบ ปริมาณกรดออร์โทคูมาริกและกรดแกลลิกในตัวอย่างน้ำผึ้งที่แตกต่างกัน โดยพบปริมาณกรดออร์โทคูมาริกและกรดแกลลิกในตัวอย่างน้ำผึ้ง อยู่ในช่วง 282.91-497.93 และ 615.15-1051.28 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ เทคนิคนี้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณกรดออร์โทคูมาริกและกรดแกลลิกในตัวอย่างน้ำผึ้งได้ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่ง่าย น่าเชื่อถือ รวดเร็ว และราคาไม่แพง