Browsing by Author "อรวรรณ คำงาม"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารจัดการหลักสูตรอาชีวศึกษา และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) อรวรรณ คำงามการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ เพศ อายุ ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการสอน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาในการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ T–test และสถิติ F–test ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการโอนผลการเรียน และด้านที่มีปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ด้านการจัดหลักสูตรอาชีวศึกษา 2) ผลการเปรียบเทียบปัญหาจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง เมื่อจำแนกสถานภาพตามตำแหน่งและประสบการณ์ในการสอน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นแตกต่างกัน 3) แนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาได้มีแนวทางจัดการศึกษา ทั้งหมด 9 ด้าน คือ 1) ด้านการวิเคราะห์ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน 2) ด้านการกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ด้านการจัดหลักสูตรอาชีวศึกษา 5) ด้านการวัดผลประเมินผล 6) ด้านการโอนผลการเรียน 7) ด้านการสำเร็จการศึกษา 8) ด้านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ และ 9) ด้านการประกันคุณภาพหลักสูตร