Browsing by Author "อมรรัตน์ เชื้อเจ็ดตน"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการปรับปรุงประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอินทรีย์ โดยการเจืออนุภาคนาโนของโลหะลงในโครงสร้างชั้นต่างๆ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) อมรรัตน์ เชื้อเจ็ดตนในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการใช้อนุภาคนาโนโลหะเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอินทรีย์ โดยใช้ซิงก์ออกไซด์เป็นชั้นส่งผ่านอิเล็กตรอนที่สังเคราะห์ด้วยกระบวนการไอระเหยเคมี และวิธีสปัตเตอร์ริงบนกระจกนำไฟฟ้าชนิดฟลูออรีนเจือดีบุกออกไซด์ (FTO) โครงสร้างของซิงก์ออกไซด์ถูกสังเคราะห์โดยกระบวนการไอระเหยเคมีที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส ก๊าซอาร์กอนและออกซิเจนถูกปล่อยสู่ระบบด้วยอัตราการไหล 500 และ 50 มิลลิลิตรต่อนาที ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างเป็นเส้นลวดนาโนแบบแนวตั้งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.49 ไมโครเมตร ฟิล์มบางของซิงก์ออกไซด์ถูกสังเคราะห์โดยวิธีสปัตเตอร์ริงที่ความดัน 2.5 มิลลิทอร์และกำลังไฟฟ้า 150 วัตต์ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างเป็นฟิล์มบางที่ความหนา 0.33 ไมโครเมตร จากนั้นนำโครงสร้างนาโนซิงก์ออกไซด์ และฟิล์มบางซิงก์ออกไซด์บนกระจกนำไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้เป็นชั้นการส่งผ่านอิเล็กตรอนสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอินทรีย์ ประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอินทรีย์จะปรับปรุงโดยการเติมอนุภาคนาโนของทอง ทอง และทองแดง ลงในชั้นของซิงก์ออกไซด์, P3HT:PCBM และ PEDOT:PSS สำหรับการใช้ซิงก์ออกไซด์แบบเส้นลวดนาโนเป็นชั้นส่งผ่านอิเล็กตรอน อนุภาคนาโนที่ถูกเติมลงในชั้นซิงก์ออกไซด์และชั้น P3HT:PCBM จะสามารถเพิ่มให้ประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์สูงขึ้น สำหรับการใช้ซิงก์ออกไซด์ชนิดฟิล์มบางเป็นชั้นส่งผ่านอิเล็กตรอนแล้วเติมอนุภาคนาโนโลหะลงในชั้น PEDOT:PSS จะทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น การที่ประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการสั่นของอิเล็กตรอนส่งผลต่อกลไกลการดูดซับแสง และกลไลการกระเจิงแสง ปรากฏการณ์เหล่านี้จะนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยการเพิ่มความหนาแน่นกระแสสูงขึ้น