Browsing by Author "อภิไทย แก้วจรัส"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemแนวทางการส่งเสริมอาหารท้องถิ่นภาคเหนือเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเชียงใหม่(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) อภิไทย แก้วจรัสการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวในการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดที่ใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อประเมินศักยภาพของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเชียงใหม่ 5) เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะอาหารท้องถิ่นภาคเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ และ 6) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมอาหารท้องถิ่นภาคเหนือเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 405 คน โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว และการทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และภาควิชาการ จำนวน 21 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาในจังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่มีความชื่นชอบในอาหารท้องถิ่น รับประทานอาหาร 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ประเภทแกงในช่วงมื้อกลางวัน มีการสืบค้นข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นจัดส่งอาหาร นิยมรับประทานกับครอบครัวหรือญาติในร้านอาหารท้องถิ่น มีค่าใช้จ่าย 201-300 บาทต่อครั้ง โดยใช้รถจักรยานยนต์ 2) ความคิดเห็นในการบริโภคอาหารท้องถิ่นของนักท่องเที่ยวชาวไทย ส่วนใหญ่ต้องการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคเหนือโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่นักท่องเที่ยวให้ความคิดเห็นมากที่สุด คือ รูปลักษณ์ของอาหาร เพราะอาหารท้องถิ่นภาคเหนือมีการตกแต่งของอาหารที่มีสีสันสวยงามน่าดึงดูดใจ 3) ในภาพรวมนักท่องเที่ยวชาวไทยมีระดับความคิดเห็นปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่ออาหารท้องถิ่นภาคเหนืออยู่ในระดับมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านลักษณะเฉพาะของพื้นที่ 4) ศักยภาพของการท่องเที่ยวเชิงอาหารจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ สิ่งดึงดูดใจทางทางการท่องเที่ยว การเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวเชิงอาหาร กิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และการให้บริการ 5) ลักษณะเฉพาะอาหารท้องถิ่นภาคเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ที่นำมาใช้ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ลักษณะเฉพาะอาหารท้องถิ่นภาคเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ 5 ด้าน คือ วัตถุดิบในท้องถิ่น ชื่ออาหาร ภาพลักษณ์ของอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ รสชาติ และประเภทของอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ และ 6) แนวทางการส่งเสริมอาหารท้องถิ่นภาคเหนือเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเชียงใหม่ คือ การส่งเสริมอาหารท้องถิ่นภาคเหนือเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยรูปแบบ "กิ๋นลำแต้" ประกอบด้วย มหกรรมอาหารท้องถิ่น การประชาสัมพันธ์ การสร้างเครือข่าย การยกระดับเอกลักษณ์อาหารท้องถิ่น การทำการตลาด เทคโนโลยี กิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และการเป็นผู้ประกอบการ