Browsing by Author "อภิวิชญ์ คำเงิน"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemศักยภาพของปุ๋ยชีวภาพจากราเอนโดไฟท์ Trichoderma phayaoense (L1I3) เพื่อส่งเสริมคุณภาพ และควบคุมโรคในมะเขือเทศ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) อภิวิชญ์ คำเงินงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของราเอนโดไฟท์ Trichoderma phayaoense (L1I3) ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโต คุณภาพการผลิต และการควบคุมโรคในมะเขือเทศ ในระดับห้องปฏิบัติการและระดับโรงเรือน โดยทดสอบการกระตุ้นการงอกของเมล็ดมะเขือเทศ จำนวน 10 สายพันธุ์ พบว่า สารแขวนลอยสปอร์ของรา T. phayaoense (L1I3) ที่ระดับความเข้มข้น 1.0×108 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ทำให้เมล็ดมีอัตราการงอกมากที่สุด และช่วยเพิ่มความสม่ำเสมอในการงอกของเมล็ดพันธุ์ ในขณะที่การทดสอบรา T. phayaoense (L1I3) ในการยับยั้งการเจริญของราสาเหตุโรคในมะเขือเทศ จำนวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Rhizoctonia solani (AG-2), Fusarium oxysporum, Pythium aphanidermatum และ Sclerotium rolfsii ด้วยวิธี dual culture พบว่ารา T. phayaoense (L1I3) สามารถยับยั้งการเจริญของรา Pythium aphanidermatum ได้มากที่สุด เท่ากับ 73.20% รองลงมาสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ R. solani (AG-2) S. rolfsii และ F. oxysporum มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 60.53%, 49.09% และ 25.91% ตามลำดับ ต่อมาศึกษาผลของปุ๋ยชีวภาพจากรา T. phayaoense (L1I3) เคลือบอัลจิเนตต่อการควบคุมราสาเหตุโรคของมะเขือเทศในระยะต้นกล้าระดับโรงเรือน พบว่า ปุ๋ยชีวภาพจากรา T. phayaoense (L1I3) ควบคุมโรคที่เกิดจากรา F. oxysporum ได้ดี โดยมีอัตราการเกิดโรคน้อยที่สุด เท่ากับ 31.15% การศึกษาผลของปุ๋ยชีวภาพจากรา T. phayaoense (L1I3) เคลือบอัลจิเนต ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ 3 สายพันธุ์ ในระดับโรงเรือน พบว่า การใส่ปุ๋ยชีวภาพจากรา T. harzianum เคลือบอัลจิเนต ส่งผลให้ความสูงของมะเขือเทศทั้ง 2 พันธุ์ ได้แก่ Sweet princess และ Indigo rose มีความสูงต่างการกรรมวิธีอื่นๆ ในขณะที่รา T. phayaoense (L1I3) เคลือบอัลจิเนต มีปริมาณวิตามินซีและปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ มากที่สุดในพันธุ์ Sweet princess และ Indigo rose ส่วนพันธุ์ Sweet boy ชุดควบคุมมีผลดีที่สุด