Browsing by Author "อนันทพงษ์ กระจาย"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการเสริมกำลังรับแรงเฉือนและการยึดรั้งการโก่งเดาะของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กโดยการโอบรัดด้วยเหล็กเส้นแบน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) อนันทพงษ์ กระจายปัจจุบันประเทศไทยมีอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ไม่ได้ออกแบบให้โครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหว โครงสร้างเสาจึงออกแบบให้รับแรงในแนวแกนโดยมีเหล็กปลอกที่เรียงระยะห่างมาก จึงทำให้โครงสร้างเสาไม่สามารถรับแรงเฉือนจากแรงแผ่นดินไหวได้ อีกทั้งมีโอกาสที่เหล็กเสริมตามยาวจะเกิดการโก่งเดาะได้ง่าย งานวิจัยนี้จึงศึกษาแรงยึดรั้งตามขวางที่ต้องการเพื่อให้เหล็กเส้นรับแรงอัดมีช่วงความยาวการโก่งเดาะที่ต้องการ โดยการทดสอบ และศึกษาพฤติกรรมโครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กรับแรงด้านข้างที่มีลักษณะการวิบัติเนื่องจากแรงเฉือน หรือแรงเฉือนและแรงดัด ทั้งก่อนทำการเสริมความแข็งแรง และหลังทำการเสริมความแข็งแรงโดยใช้เหล็กเส้นแบนโอบรัด โดยใช้โปรแกรม ABAQUS ผลการศึกษาการโก่งเดาะและแรงยึดรั้งในเหล็กเส้น พบว่า ตัวอย่างเหล็กเส้นที่มีช่วงการโก่งเดาะเท่ากับ 16 เท่า และ 12 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กตามยาว (16D และ 12D) กำลังรับแรงอัดจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดการโก่งเดาะ โดยกำลังอัดลดลงเหลือ 50% ของกำลังคราก ที่ความเครียดอัดประมาณ 5 เท่า และ 10 ของความเครียดที่จุดคราก เมื่อให้มีการยับยั้งการโก่งเดาะที่กึ่งกลางช่วงทำให้เกิดช่วงการโก่งเดาะ 8D และ 6D กำลังอัดจะตกลงช้า โดยค่าความเครียดที่กำลังอัดลดลงมาที่ 50% ของกำลังคราก ประมาณ 16 เท่า และ 25 ของความเครียดที่จุดคราก ตามลำดับ โดยแรงยึดรั้งจะเพิ่มมากขึ้นตามขนาดหน้าตัดของเหล็กเส้น โดยช่วงความยาวการโก่งเดาะที่น้อยจะต้องการแรงยับยั้งที่มาก การเสริมกำลังเสาเพื่อควบคุมการโก่งเดาะจะต้องโอบรัดเสาให้ช่วงความยาวการโก่งเดาะประมาณ 6D โดยขนาดของเหล็กเส้นแบนจะขึ้นกับแรงยับยั้งที่ต้องการตาม ผลการทดสอบ การวิเคราะห์การรับแรงด้านข้างของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่เสริมกำลัง โดยใช้เหล็กเส้นแบนคาดรัด เพื่อควบคุมการโก่งเดาะของเหล็กเสริมตามยาวและเพิ่มกำลังรับแรงเฉือน โดยใช้โปรแกรม ABAQUS พบว่า โครงสร้างเสาที่เสริมกำลังสามารถรับแรงด้านข้าง และโยกตัวทางด้านข้างได้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งเปลี่ยนรูปแบบการวิบัติจากแบบเฉือนเป็นแบบดัดที่มีความเหนียวได้ ด้งนั้น การเสริมกำลังโครงสร้างเสาโดยวิธีคาดรัดด้วยเหล็กเส้นแบนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสม เพราะเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย และมีขั้นตอนการติดตั้งที่ไม่ยุ่งยาก