Browsing by Author "อดุลวิทย์ ปิจจะ, พระ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาแนวทางในการดำเนินงานกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) อดุลวิทย์ ปิจจะ, พระการศึกษาแนวทางในการดำเนินงานกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางในการดำเนินงานกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้นจำนวน 186 รูป/คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการดำเนินงานกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ด้านชุมชนกัลยาณมิตร ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ ด้านภาวะผู้นำร่วม และด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน ข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย พบว่า 1) วิสัยทัศน์ร่วมผู้บริหารสถานศึกษาควรเห็นเป้าหมายวิชาชีพครูในการทำงาน ปฏิรูปการเรียนรู้ที่มุ่งการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง สมาชิกชุมชน และผู้นำชุมชน 2) ทีมร่วมแรงร่วมใจผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ วางแผนการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน เพื่อให้บรรลุที่การเรียนของผู้เรียน 3) ภาวะผู้นำร่วม ผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นผู้นำให้ครูเกิดการเรียนรู้มีการกระจายอำนาจเพื่อคุณภาพของผู้เรียน 4) การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ควรส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูลงมือปฏิบัติจริงร่วมกันกับครู เรียนรู้ถึงจิตวิญญาณความเป็นครู 5) ชุมชนกัลยาณมิตร ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ครูมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เคารพซึ่งกันและกันในสถานศึกษา ลดความโดดเดี่ยวระหว่างการปฏิบัติงานสอนของครู 6) โครงสร้างสนับสนุนชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษาควรลดขั้นตอนในการทำงาน ลดขัดแย้งของครูผู้สอนกับฝ่ายบริหารให้น้อยลงการบริหารเน้นรูปแบบทีมงานเป็นหลัก