Browsing by Author "สุรีนาถ ครองสุข"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการสร้างเครือข่ายจักสานเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) สุรีนาถ ครองสุขงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายจักสานเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายของกลุ่มจักสาน และเพื่อศึกษากลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ให้กับกลุ่มเครือข่ายจักสาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษามี 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจหัตถกรรมจักสานในพื้นที่จังหวัดพะเยา จำนวน 10 กลุ่ม จังหวัดแพร่ 5 กลุ่ม ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบก้อนหิมะหรือแบบลูกโซ่ หน่วยงานภาครัฐ 3 หน่วยงาน และผู้ประกอบการในภาคเอกชน 3 แห่ง ใช้การเลือกตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ SWOT ของกลุ่มจักสานในพื้นที่จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่ พบว่า จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถนำจุดแข็งของกลุ่มหนึ่งไปช่วยลดจุดอ่อนของกลุ่มอื่นได้ จึงก่อให้เกิดแนวทางการสร้างเครือข่ายของกลุ่มจักสานไม้ไผ่จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่ 3 เครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายการจัดหาวัตถุดิบ เครือข่ายการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเครือข่ายการตลาด แนวทางการสร้างเครือข่ายของกลุ่มจักสานในพื้นที่จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่ มีรูปแบบการสร้างเครือข่าย ได้แก่ 1) เครือข่ายความคิด จะเน้นการทำงานด้านความคิด การแบ่งปันความรู้หรือเทคนิคต่าง ๆ มีการเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน 2) เครือข่ายกิจกรรมจะเน้นการร่วมมือกันในการทำกิจกรรม ช่วยเหลือกันในการทำงาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ 3) เครือข่ายสนับสนุนทุน การรวมกลุ่มช่วยทำให้เกิดการระดมทุนของสมาชิกในกลุ่มเพื่อใช้ในการดำเนินงาน และทำให้เกิดอำนาจต่อรอง และได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐได้ง่าย ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างเครือข่ายโดยตระหนักถึงปัญหา 2) การสร้างประโยชน์ร่วมกัน 3) การแสวงหาแกนนำของเครือข่าย 4) การสร้างแนวร่วมสมาชิกของเครือข่าย การวิเคราะห์กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่เหมาะสมสำหรับทางการสร้างเครือข่ายของกลุ่มจักสานในพื้นที่จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่ พบว่า กลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพ และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนให้กับกลุ่มเครือข่ายจักสาน ได้แก่ กลยุทธ์การผสมผสาน: การบูรณาการด้านกลยุทธ์ต้นทุนต่ำและกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ซึ่งเป็นการผลิตสินค้าโดยเน้นความแปลกใหม่ของตัวผลิตภัณฑ์ ให้มีความแตกต่าง เป็นเอกลักษณ์ และตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้บริโภคเป็นสำคัญ โดยอยู่ภายใต้การผลิตที่มีต้นทุนต่ำ ตลอดจนการได้รับการช่วยเหลือ และสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน อย่างต่อเนื่อง