Browsing by Author "สุริยนต์ เหลืองตรงกิจ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการวิเคราะห์รูปแบบการรุกของวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยในการแข่งขันระดับนานาชาติ วีเอ็นเอล 2022(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) สุริยนต์ เหลืองตรงกิจการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการรุก ผลของการรุก และพื้นที่ที่ทำคะแนน โดยเปรียบเทียบผลของการรุกกับพื้นที่ที่ทำคะแนนของทีมชาติไทยและทีมคู่แข่งขัน และหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการรุกและพื้นที่ที่ทำคะแนน รวมทั้งผลของการรุกและพื้นที่ที่ทำคะแนนของทีมชาติไทย และทีมคู่แข่งขันในการแข่งขันระดับนานาชาติ วีเอ็นเอล 2022 กลุ่มตัวอย่างเป็นแมตช์การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยในการแข่งขันระดับนานาชาติ วีเอ็นเอล 2022 เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 13 แมตช์ 51 เซตแยกเป็นวิเคราะห์ข้อมูลการรุก และข้อมูลผลของการรุก ชุดละ 3,151 ข้อมูล และข้อมูลพื้นที่ที่ทำคะแนน 965 ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Focus X2 ในการวิเคราะห์สมรรถนะทางการกีฬา โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติการวิเคราะห์ค่าที (Independent sample t-test) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยเพียร์สัน (Pearson correlation) ผลการวิจัยพบว่า ทีมชาติไทยมีการใช้รูปแบบการรุกด้วยการตบบอลโค้งหน้า (C) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.44 ผลของการรุกในการแข่งขันของทีมชาติไทย พบว่า มีการรุกที่ได้คะแนน (Ace) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.79 พื้นที่ที่ทำคะแนนได้มากที่สุดของทีมชาติไทย คือ พื้นที่ที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 33.77 ผลการเปรียบเทียบรูปแบบการรุกของทีมชาติไทยและทีมคู่แข่งขันในการแข่งขัน พบว่า รูปแบบการรุกการตบบอลบีแทรก (X) การตบบอลเร็วหน้า (A) และการตบบอล 3 เมตร (3m) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการเปรียบเทียบผลของการรุกและพื้นที่ที่ทำคะแนนของทีมชาติไทยและทีมคู่แข่งขัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการรุกและพื้นที่ที่ทำคะแนนในการแข่งขัน พบว่า รูปแบบการรุกการตบบอลโค้งหน้า (C) การตบบอลโค้งหลัง (C’) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพื้นที่ที่ 4 และพื้นที่ที่ 5 ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ความสัมพันธ์ระหว่างผลของการรุกและพื้นที่ที่ทำคะแนน พบว่า การรุกที่ได้คะแนน (Ace) มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมากกับพื้นที่ที่ 5 และสูงกับพื้นที่ที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพื้นที่ที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05