Browsing by Author "สุภาวดี อินแถลง"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemปัญหาและแนวทางการทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับในคดีอาญา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) สุภาวดี อินแถลงบทความวิจัยฉบับนี้ ศึกษาปัญหาและแนวทางการทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับในคดีอาญา โดยศึกษาแนวความคิด ทฤษฎีของการลงโทษในคดีอาญาโดยเฉพาะโทษปรับ ศึกษาการทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ของต่างประเทศ รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จากการศึกษาวิจัย พบว่า ปัญหาประการแรก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30/1 ให้ผู้ต้องโทษปรับ ซึ่งมิใช่นิติบุคคลและไม่มีเงินชำระค่าปรับเท่านั้น ที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่อทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับแต่ศาลจะมีคำสั่งจะยกคำร้องหากพบว่าจำเลยสามารถชำระค่าปรับได้ ปัญหาประการที่สอง ตามมาตรา 30/2 ถ้าผู้ต้องโทษฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขที่ศาลกำหนด ถือว่าผู้นั้นไม่เห็นความสำคัญของมาตรการทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ มีผลให้ศาลจะเพิกถอนคำสั่งอนุญาตดังกล่าวและปรับหรือกักขังแทนค่าปรับ โดยศาลจะมิได้มีคำสั่งบังคับให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 29 และ 29/1 ก่อน ปัญหาประการที่สาม ศาลพึงสอบถามผู้ต้องโทษปรับ ซึ่งบางรายมิได้รู้ว่ามีมาตรการเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถชำระค่าปรับได้ ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนวทางในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาหรือมาตรการทางกฎหมาย ดังนี้ 1) ผู้ต้องโทษปรับสามารถยื่นคำร้องขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับได้แม้บุคคลนั้นจะสามารถจ่ายค่าปรับได้ก็ตาม 2) เมื่อศาลพิจารณาถึงฐานความผิดที่ได้กระทำและประวัติการกระทำความผิดครั้งก่อนแล้ว หากผู้ที่ต้องโทษปรับฝ่าฝืนไม่ทำงานบริการสังคมหรือสาธารธณประโยชน์แทนค่าปรับโดยไม่มีเหตุสมควร ควรกลับมาดำเนินการบังคับโทษปรับตามประมวลกฎหมายอาญาตามลำดับ มิใช่ผู้ต้องโทษปรับถูกบังคับให้กักขังทันที 3) ศาลต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องโทษปรับเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับทราบในขณะพิพากษาคดี ไม่ว่าคดีนั้นจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือความผิดในคดีนโยบาย เช่น คดีเกี่ยวกับภาษี คดีเช็ค คดีเกี่ยวกับการรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน เป็นต้น หรือแม้ว่าผู้ต้องโทษจะสามารถชำระค่าปรับได้ก็ตาม เพื่อให้เป็นการลงโทษโดยทั่วไป มิได้เป็นการเจาะจงเฉพาะผู้ต้องโทษปรับที่ไม่สามรถชำระค่าปรับได้ และเพื่อให้ผู้ต้องโทษปรับในคดีนโยบายบางประเภทดังกล่าวได้รับการแก้ไขฟื้นฟูมากกว่าต้องถูกบังคับการลงโทษ อันเป็นการสอดคล้องกับหลักการลงโทษสากล